รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ ๓ วันที่   ๗  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๗  ณ ห้องประชุม ลีลาวดี  เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.

๑.เรื่อง “แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพ”

๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติที่ดี

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่

วิทยากรจากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน ๖ คน ได้แก่

๑.อ.ดร. ศรีสกุล  เฉียบแหลม

๒.อ.วารุณี  สุวรวัฒนกุล

๓.อ.โศภิณศิริ  ยุทธวิสุทธ์

๔.อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร

๕.อ.ราตรี  อร่ามศิลป์

๖.อ. จรัญญา  ดีจะโปะ

คณาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท จำนวน ๒๐ คน ได้แก่

๑.อ.ดร. ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์

๒.อ.นฤมล        จันทร์สุข

๓.อ.นภัทร        เตี๋ยอนุกูล

๔.อ.เพ็ญศรี       รอดพรม

๕.อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี

๖.อ.มณีรัตน์      พราหมณี

๗.อ.จารุณี        จาดพุ่ม

๘.อ.สมทรง       มณีรอด

๙.อ.อังค์ริสา      พินิจจันทร์

๑๐.อ.สายฝน     อำพันกาญจน์

๑๑.อ. มณี        ดีประสิทธิ์

๑๒.อ.มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์

๑๓.อ. ภัทรวดี    ศรีนวล

๑๔.อ. ชวนนท์   จันทร์สุข

๑๕.อ. สุทิศา     สงวนสัจ

๑๖.อ. ยุทธนา    นุ่นละออง

๑๗.อ. จรัญศักดิ์  พีรศักดิ์โสภณ

๑๘.อ.จีระภา     นะแส

๑๙.อ.นภัสสร     ยอดทองดี

๒๐.อ.นันตพร    ทองเต็ม

๔. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ สาระสำคัญ(เรื่องเล่าความสำเร็จ) ผู้เล่าเรื่อง
การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี - เน้นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน จุดยืนชัดเจน พันธกิจอื่นเป็นรอง 

-นำข้อมูลผลการสอบสภา มาเป็นข้อมูลป้อนกลับ สะท้อนกระบวนการจัดการศึกษา

-ครูประจำชั้น ติดตามดูเกรดของนักศึกษาทุกเทอม วิเคราะห์ดูว่ารายวิชาใดที่อ่อน สอนการเตรียมพร้อม ปรับแก้ไข ติดตามตั้งแต่ปี ๑-๓  เมื่อถึงปี ๔ เตรียมพร้อมการอ่านหนังสือ วางแผนตารางการอ่าน สอนหลักการอ่าน อ่านวิชาที่ง่ายก่อน

-ครูประจำชั้นตรวจสอบ short note ของนักศึกษาที่ไปอ่านทบทวนด้วยตนเองตามแผนที่นักศึกษาวางไว้ และช่วยติวในรายวิชาที่ตนเองเชี่ยวชาญ แต่รายวิชาที่ตนไม่สามารถติวได้จะทำหน้าที่ประสานงานให้อาจารย์ที่เกี่ยวข้องมาบรรยาย

-อาจารย์จบใหม่ที่ตรวจงานนักศึกษาต้องมีครูพี่เลี้ยงในการ coaching ตรวจซ้ำเพื่อชี้ประเด็นในการพัฒนานักศึกษา

-มีการสอน case study ปี ๒ ครูเลือก case ให้นักศึกษาศึกษา  ปี ๓ ครูชี้ประเด็นรายวิชา ให้นักศึกษาเลือก case เอง ตามขอบเขตวิชา ครูเริ่มให้ตั้งแต่วันแรกๆ

-ครูตรวจงานแล้วครูมอบหมายงานให้นักศึกษาอ่าน เนื้อหาในโรคนายวิชาพื้นฐาน  lab ให้อ่านจุลชีวะ  ยา อ่านยา   โรค อ่าน anatomy  ครูมอบหมายนักศึกษามาเล่าในชั่วโมง conference   ให้นักศึกษาส่งงานก่อนการนำเสนอ ครูจะตรวจคร่าวๆ เพื่อให้นักศึกษาค้นคว้าแล้วปรับแก้ไข  วัน conference ครูชี้ประเด็นเน้นการ nursing process สอนในแต่ละขั้นตอนเพื่อสะท้อน

-ขณะเรียน นักศึกษาต้อง short note อ่าน  ครูสรุปประเด็นจาก main concept สภาการพยาบาลมาสอดแทรก

อ.ดร. ศรีสกุล 

เฉียบแหลม

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการผดุงครรภ์ การพยาบาลมารดาและทารก วิเคราะห์ blue print สภาการพยาบาลเทียบกับเนื้อหาการสอน การสอนในภาคปฏิบัติเน้น long term memory  การวิเคราะห์ NCP ของนักศึกษาที่จะขึ้นฝึก ครูต้อง conference ในหัวข้อตาม blue print  เกี่ยวกับโรค ครูเน้นการนำกระบวนการพยาบาล ครูบน ward พยายามไม่ทิ้งนักศึกษา และชี้ประเด็นการนำ กระบวนการพยาบาลไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล   ครูปรับ case study ให้ตรงกับลักษณะรายวิชา  นักศึกษาเก็บ case มาตลอดการฝึก ครู conference ชี้ประเด็นที่สำคัญของโรคที่เน้นเฉพาะ ครูชี้ให้เห็นภาพรวมของโรคและชี้การเชื่อมโยงรายวิชา อ. จรัญญา  ดีจะโปะ 

อ.มณีรัตน์ พราหมณี

อ.สายฝน  อำพันกาญจน์

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุ -วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพื้นฐาน 

-เวลาขึ้น ward มีการสอบปากเปล่า จากกระบวนการพยาบาล การดูแลปัจจุบัน  ครูบน ward ตรวจดูรายงานการวางแผนกระบวนการพยาบาลตอนเช้า   oral test ตอนบ่าย

ครูออกข้อสอบและต้องเฉลยคำตอบ วิเคราะห์คำตอบ เพื่อสอนวิธีการคิด  ต้องมีการวิพากษ์ข้อสอบ ข้ามรายวิชา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน นักศึกษาอ่านแล้วเข้าใจ โดยคณะกรรมการมากกว่า ๓ คน

-การสอบภาคปฏิบัติ ใช้ข้อสอบบรรยายในการเขียนเพื่อนำมาเชื่อมโยงความรู้

-หากพบว่านักศึกษาอ่อนมาก  ต้องกล้าให้นักศึกษาตก  ward แต่ครูต้องมีหลักฐานและมีการเตรียมข้อมูล  ต้องแจ้งฝ่ายวิชาการ

-ต้องมีการสร้างทัศนคติต่อเด็กที่อ่อนและจำเป็นต้องให้ตกward ว่าเป็นโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น  ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  ได้เปรียบเพื่อนคนอื่น  โดยครูก็ต้องเสียสละในการต้องมาสอนเพิ่มเติม

-ครูไม่ควรมีการทิ้งนักศึกษาไว้บน ward  หากครูต้องลงมาทำกิจกรรม ควรต้องมีครูทดแทนหรือเอานักศึกษาลงมาด้วย

-การหาคนขึ้นward แทน ก็ต้องตัดโอนภาระงานให้ด้วย

อ.ดร. ศรีสกุล 

เฉียบแหลม

อ.ดร. ปริญดา

ศรีธราพิพัฒน์

อ.เพ็ญศรี รอดพรม

อ. มณี   ดีประสิทธิ์

อ.นันตพร ทองเต็ม

อ.จรัญศักดิ์ พีรศักดิ์โสภณ

อ.มณฑาทิพย์

สุรินทร์อาภรณ์

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น มีการปรับรูปแบบการสอนทบทวนในบางรายวิชา ได้แก่ วิชาการพยาบาลเด็ก จากการที่ให้อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบการสอนคนละ ๑-๒ ชั่วโมง  เป็นการสอนทบทวนโดยอาจารย์เพียง ๑ ท่านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เชื่อมโยงของเนื้อหา  และมีการเสนอแนะว่าควรสอนเป็นระบบจะได้ผลกว่าการสอนแยก  เช่นระบบหายใจ ไม่ควรแยกสอนเป็นผู้ป่วยเด็กหรือผู้ป่วยผู้ใหญ่ แต่ควรสอนทบทวนเป็นระบบจะดีกว่า 

จัดสรรครูที่เก่งในแต่ละสาขาเข้าไปสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นครูเด็ก สอนจิตวิทยาในวัยเด็ก สอนวัคซีน สอนพัฒนาการเด็ก ในรายวิชาสร้างเสริม สอนระบบในวัยเด็กฯ

-จัดสรรครูที่เก่งในแต่ละสาขาเข้าไปสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นครูเด็ก สอนจิตวิทยาในวัยเด็ก สอนวัคซีน สอนพัฒนาการเด็ก ในรายวิชาสร้างเสริม สอนระบบในวัยเด็กฯ

-มีระบบการสะท้อนผลการพัฒนา ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน  ปรับกำลังใจให้นักศึกษา  มีระบบการสอบ pre-test post –rest ของแต่ละ ward

-การวิเคราะห์รายวิชา ยึด concept  continuous of illness คือ acute chronic crisis    content

-การจัดประสบการณ์ตามรายวิชากับลักษณะวิชา  การมอบหมาย alignment ตามลำดับความสามารถของนักศึกษา ไม่กระทบนักศึกษามาก ไม่สร้าง stress แก่นักศึกษา

-การแยกประสบการณ์ตามองค์ความรู้  เช่น ปี ๒ เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เน้นการพยาบาล  ปี ๓ เน้นการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และเหตุผลของการให้การพยาบาลตามแผนการรักษา

อ.วารุณี  สุวรวัฒนกุล 

อ.จารุณี จาดพุ่ม

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ข้อสอบมาวิเคราะห์ผลสอบกับเนื้อหาใน blueprint ว่านักศึกษาอ่อนเรื่องอะไร ให้นักศึกษาทำข้อสอบแล้วเฉลย  ให้แนวทางในการเลือกคำตอบว่าให้สวมบทบาทเป็นคนไข้ตามสถานการณ์ในข้อสอบ แล้วถึงเลือกตอบ เน้นบทที่ออกมากที่สุด คือการสร้างสัมพันธภาพ 

๑.      กลุ่มวิชาทำคู่มือเนื้อหาเพื่อสรุปสาระในการติว main comcept

๒.      ครูติว concept

๓.      ทดสอบนักศึกษา

๔.      แบ่งกลุ่มนศ. อ่อน เก่ง

๕.      แบ่งอาจารย์ที่เก่งมากๆ ติวนักศึกษากลุ่มอ่อน นศ.เก่ง อาจารย์สอนปานกลาง

๖.      จัดแบ่งเวลาในการติวให้นักศึกษาที่กลุ่มอ่อนมาก  ไม่เข้าใจแล้วไม่บ่อย

๗.      ย้ายกลุ่มนักศึกษาเมื่อผลแต่ละรอบ เพื่อสร้างเสริมแรงนักศึกษาที่ได้ย้ายกลุ่มมา

๘.      ครูติวพร้อมเฉลยคำตอบแต่ละข้อ และอธิบายความเข้าใจ นักศึกษาก็จะได้วิธีคิด

ครูกระตุ้นเสริมวิธีคิดโดยการสอบ วางเป้าหมาย   ของแต่ละรายวิชาและดูค่าเฉลี่ยของคะแนน

อ.โศภิณศิริ  ยุทธวิสุทธ์ 

อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี

อ.นภัสสร  ยอดทองดี

อ. ชวนนท์  จันทร์สุข

อ. ภัทรวดี  ศรีนวล

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการ 

รักษาเบื้องต้น

ในการสอนทบทวนจะมีการเน้นที่แตกต่างกันในแต่ละสนามสอบเช่นเครือข่าย สบช. รามา ซึ่งแต่สถาบันจะมีการเน้นที่แตกต่างกัน มีการวิเคราะห์ข้อสอบกับ blueprint ว่านักศึกษาตกหัวข้อใดมาก และสอบถามนักศึกษาว่าไม่เข้าใจ หรืออ่อนในเรื่องใด เก็บรวบรวมมาประชุมกลุ่มอาจารย์ผู้สอน  มีการสอนวิธีการและเทคนิคทำข้อสอบ โดยเน้นคำสำคัญ (keyword) ที่โจทย์ถาม เช่น ลำดับแรก สำคัญที่สุด อย่างยั่งยืน (หมายถึงต้องมีการรวมกลุ่มของชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ประชาชนมีส่วนร่วมทุกเรื่องทุกขั้นตอน) ตัวเลือกที่ผิดโดดไม่เข้าพวกไม่อยู่ในหมวดหมู่กับตัวเลือกอื่นให้ตัดทิ้ง  มีการเชิญอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลอื่นมากวดวิชา ซึ่งอาจารย์สามารถปูพื้นความรู้ตั้งแต่ กายวิภาคฯ พยาธิสภาพ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับกลุ่มวิชาอื่นได้ด้วย อ.ราตรี  อร่ามศิลป์ 

อ.ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์

อ.สุทิศา  สงวนสัจ

อ.ศศิมา  พึ่งโพธิ์ทอง

อ.อรนุช  นุ่นละออง

อ.ยุทธนา  นุ่นละออง

อ. อังค์ริสา  พินิจจันทร์

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพฯ รวบรวมข้อสอบจากนักศึกษาและเพิ่มเติมข้อที่ไม่สมบูรณ์จากเครือข่าย  และหาข้อสอบมาเพิ่มจากเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคเหนือ  นำข้อสอบที่ได้ส่งไปให้อาจารย์ภายนอกที่เชิญมาสอนเฉลย และเตรียมการสอน มีการเชิญอาจารย์ภายนอก ๒ ท่านมาสอนเพิ่มเติมจากอาจารย์ประจำในวิทยาลัยฯที่ทำการสอนทบทวนเองโดยนำข้อสอบและเฉลย หลักการ และขยายความจากตัวข้อสอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องในตัวเลือก อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร 

อ.สมทรง มณีรอด

๕. ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

ผู้บริหาร

เน้นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน จุดยืนชัดเจน พันธกิจอื่นเป็นรอง

-นำข้อมูลผลการสอบสภา มาเป็นข้อมูลป้อนกลับ สะท้อนกระบวนการจัดการศึกษา

-ครูประจำชั้น ติดตามดูเกรดของนักศึกษาทุกเทอม วิเคราะห์ดูว่ารายวิชาใดที่อ่อน สอนการเตรียมพร้อม ปรับแก้ไข ติดตามตั้งแต่ปี ๑-๓  เมื่อถึงปี ๔ เตรียมพร้อมการอ่านหนังสือ วางแผนตารางการอ่าน สอนหลักการอ่าน อ่านวิชาที่ง่ายก่อน

-วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพื้นฐาน

-จัดสรรครูที่เก่งในแต่ละสาขาเข้าไปสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นครูเด็ก สอนจิตวิทยาในวัยเด็ก สอนวัคซีน สอนพัฒนาการเด็ก ในรายวิชาสร้างเสริม สอนระบบในวัยเด็กฯ

-มีระบบการสะท้อนผลการพัฒนา ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน  ปรับกำลังใจให้นักศึกษา  มีระบบการสอบ pre-test post –rest ของแต่ละ ward

อาจารย์

-วิเคราะห์ blue print สภาการพยาบาลเทียบกับเนื้อหาการสอน การสอนในภาคปฏิบัติเน้น long term memory 

-มีระบบการสะท้อนผลการพัฒนา ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน  ปรับกำลังใจให้นักศึกษา  มีระบบการสอบ pre-test post –rest ของแต่ละ ward

-ทำคู่มือเนื้อหาเพื่อสรุปสาระในการติว main comcept

-รวบรวมข้อสอบจากนักศึกษาและเพิ่มเติมข้อที่ไม่สมบูรณ์จากเครือข่าย

-สอนวิธีการและเทคนิคทำข้อสอบ โดยเน้นคำสำคัญ (keyword) ที่โจทย์ถาม

-จัดแบ่งเวลาในการติวให้นักศึกษาที่กลุ่มอ่อนมาก  ไม่เข้าใจแล้วไม่บ่อย

-เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลอื่นมากวดวิชา

นักศึกษา

-การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ

-การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน สายงานสายอาชีพเราค่ะ ว่าถ้าเราสอบผ่านมันก็จะเป็นแบบการันตีได้ว่าเป็นการการันตีได้อย่างหนึ่งว่าเรามีความสามารถพอที่จะไปดูแลคนไข้

-ปัจจัยภายในหรือพลังอำนาจที่มีอยู่ในตนเอง ที่มั่นใจในตนเองว่าจะสอบผ่าน

-เพื่อนมีอิทธิพลมาก ทั้งเพื่อนที่เป็นผู้นำและเพื่อนที่เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียน เพราะเมื่อเห็นเพื่อนอ่าน นักศึกษาก็ต้องอ่าน

๖. แนวทางการนำความรู้ไปใช้

๑. จัดทำแนวปฏิบัติปฏิบัติการเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลเพื่อการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพครั้งแรก ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

เวลาสิ้นสุดกิจกรรม  ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ                              ผู้จดบันทึก

(นางอังค์ริสา  พินิจจันทร์)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ



รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ ๒ วันที่   ๑๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖  ณ ห้องประชุม ลีลาวดี  เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐  น.

๑.เรื่อง การศึกษาเอกสาร/งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อนำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่

๑ อ.ดร. ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์               ประธานกลุ่ม

๒ อ.นฤมล        จันทร์สุข                   ผู้จัดการ

๓ อ.นภัทร       เตี๋ยอนุกูล                  สมาชิก

๔ อ.เพ็ญศรี      รอดพรม                   สมาชิก

๕ อ.ปารวีร์       กุลรัตนาวิโรจน์             สมาชิก

๖ อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี                   สมาชิก

๗ อ.มณีรัตน์      พราหมณี                   สมาชิก

๘ อ.จารุณี        จาดพุ่ม                      สมาชิก

๙ อ.สมทรง       มณีรอด                     สมาชิก

๑๐ อ.อังค์ริสา  พินิจจันทร์                   เลขานุการ

๔. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ สาระสำคัญ(เรื่องเล่าความสำเร็จ) ผู้เล่าเรื่อง
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 

อุดรธานี

ประกอบด้วยปัจจัย ๖ ด้าน โดยเรียงลำดับการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้ดังนี้ ๑. สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน ๒ การรับรู้คุณค่าในตนเอง ๓. บรรยากาศในการเรียนรู้ ๔. ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อตัวนักศึกษา ๕. ทัศนคติต่อการเรียน และ ๖. สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ อ.ดร.ปริญดา 

ศรีธราพิพัฒน์

อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล

“การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพ”ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านนักศึกษา  

๑. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิษย์เก่าที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาเล่าประสบการณ์ในการเตรียมตัว

๒. นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทาง รวมทั้งรูปแบบในการเตรียมตัวด้านความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อม

๓. ควรเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังให้เสมือนสอบจริงทุกครั้ง

๔. ฝึกการทำและวิเคราะห์ข้อสอบให้มาก

ด้านอาจารย์

๑. ควรมีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาวิเคราะห์จุดดีหรือจุดอ่อนของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

๒. กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ได้แก่รูปแบบการทบทวนความรู้ ระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์ทั้งคณะได้ทราบและเกิดความร่วมมือ

๓. จัดทำข้อสอบคู่ขนานตามแบบพิมพ์เขียวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๔. กำหนดให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบให้มาก โดยจัดสอบความรู้รวบยอดทั้ง 8รายวิชา โดยจัดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง

๕. ทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบที่ถูกต้องของเฉลยแต่ละข้อ

อ.เพ็ญศรี รอดพรม 

อ.มณีรัตน์  พราหมณี

อ.นฤมล  จันทร์สุข

การเตรียมตัวสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง 

ตามประสบการณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม

มีหลักที่สำคัญสองประเด็นด้วยกันคือ ๑. การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ และ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบได้แก่ ความสามารถเฉพาะบุคคล กลวิธีจัดการศึกษาและอาจารย์ สถานที่อยู่อาศัยและแรงจูงใจจากคนรอบข้าง อ.จารุณี  จาดพุ่ม 

อ.อังค์ริสา  พินิจจันทร์

“แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสู่วิชาชีพพยาบาล” วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา สรุปประเด็นที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices)  

๑. ด้านอาจารย์ มอบหมายให้รับผิดชอบสอนเสริมในหัวข้อที่เชี่ยวชาญและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และยึดตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล

๒. การสอนเสริมช่วงแรก จะสอนเสริมเป็นกลุ่มใหญ่ สอนทุกเนื้อหาตาม Bluprint เน้น Concept พร้อมยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษามีประสบการณ์จาก

๓. การสอบ แต่งข้อสอบหรือเขียนข้อสอบข้อที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และตรงตาม Blueprint สภา

๔. ภายหลังการสอบในแต่ละครั้ง แจ้งผลการสอบแก่นักศึกษา โดยแยกเนื้อหาตาม Blueprint และแจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนเสริมรับทราบ

๕.การเฉลยข้อสอบ อาจารย์สอนตั้งแต่เทคนิคการตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องและเฉลยตัวเลือกที่ถูกต้องพร้อมเหตุผลประกอบ

๖. การแบ่งกลุ่มย่อย แบ่งตามคะแนนของนักศึกษาเป็น๘ กลุ่มย่อย ซึ่งอาจารย์จะมีความใกล้ชิดนักศึกษามากขึ้น ส่งผลให้สามารถสอนนักศึกษาได้ทั่วถึง

๗. การทำข้อสอบบ่อยๆ ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญจากโจทย์และตัดสินใจเลือกคำตอบในเวลาที่จำกัด

๘. เพื่อนช่วยเพื่อน ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสอธิบายให้เพื่อนฟังได้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ในบางประเด็นที่เพื่อนฟังอาจารย์แล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงตามความเป็นจริง

๙. การติดตาม การติดตามประเมินผลเป็นระยะๆขณะดำเนินงาน

๑๐. กลยุทธ์ของสถาบัน ประกอบด้วย “กลยุทธ์ ๖ ประการสู่ความสำเร็จ”

๑๑. ขวัญและกำลังใจจากผู้บริหาร

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

๑. ผู้บริหาร

๒. นักศึกษา

๓. อาจารย์

๔. การมีส่วนร่วม

อ.สมทรง  มณีรอด 

อ.ปารวีร์

กุลรัตนาวิโรจน์

อ.ดร.จารุวรรณ

ก้านศรี

๕. ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

มีหลักที่สำคัญสองประเด็นด้วยกันคือ ๑. การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ และ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบได้แก่ ความสามารถเฉพาะบุคคล กลวิธีจัดการศึกษาและอาจารย์ สถานที่อยู่อาศัยและแรงจูงใจจากคนรอบข้าง

ด้านนักศึกษา

๑. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิษย์เก่าที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาเล่าประสบการณ์ในการเตรียมตัว

๒. นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทาง รวมทั้งรูปแบบในการเตรียมตัวด้านความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อม

๓. ควรเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังให้เสมือนสอบจริงทุกครั้ง

๔. ฝึกการทำและวิเคราะห์ข้อสอบให้มาก

๕. ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสอธิบายให้เพื่อนฟังได้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ในบางประเด็นที่เพื่อนฟังอาจารย์แล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงตามความเป็นจริง

ด้านอาจารย์

๑. ควรมีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาวิเคราะห์จุดดีหรือจุดอ่อนของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

๒. กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ได้แก่รูปแบบการทบทวนความรู้ ระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์ทั้งคณะได้ทราบและเกิดความร่วมมือ

๓. จัดทำข้อสอบคู่ขนานตามแบบพิมพ์เขียวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๔. กำหนดให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบให้มาก โดยจัดสอบความรู้รวบยอดทั้ง 8รายวิชา โดยจัดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง

๕. ทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบที่ถูกต้องของเฉลยแต่ละข้อ

๖. มอบหมายให้รับผิดชอบสอนเสริมในหัวข้อที่เชี่ยวชาญและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และยึดตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล

๗. ภายหลังการสอบในแต่ละครั้ง แจ้งผลการสอบแก่นักศึกษา โดยแยกเนื้อหาตาม Blueprint และแจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนเสริมรับทราบ

๖. แนวทางการนำความรู้ไปใช้

๑. จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมในการสอบสภาฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๖

เวลาสิ้นสุดกิจกรรม  ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ                                ผู้จดบันทึก

(นางอังค์ริสา  พินิจจันทร์)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ



รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ ๑ วันที่   ๑๑  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖  ณ ห้องประชุม ลีลาวดี

เวลา  ๑๔.๐๐ -๑๖.๐๐ น.

๑.เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบผ่านสภาครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่

๑ อ.ดร. ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์               ประธานกลุ่ม

๒ อ.นฤมล        จันทร์สุข                   ผู้จัดการ

๓ อ.นภัทร       เตี๋ยอนุกูล                  สมาชิก

๔ อ.เพ็ญศรี      รอดพรม                   สมาชิก

๕ อ.ปารวีร์       กุลรัตนาวิโรจน์             สมาชิก

๖ อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี                   สมาชิก

๗ อ.มณีรัตน์      พราหมณี                   สมาชิก

๘ อ.จารุณี        จาดพุ่ม                      สมาชิก

๙ อ.สมทรง       มณีรอด                     สมาชิก

๑๐ อ.อังค์ริสา  พินิจจันทร์                   เลขานุการ

๔. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ สาระสำคัญ(เรื่องเล่าความสำเร็จ) ผู้เล่าเรื่อง
๑. คุณลักษณะเฉพาะบุคคล นักศึกษาที่มีคะแนนผลสอบรายวิชาต่างๆอยู่ในเกณฑ์ดี จะสอบผ่านในการสอบครั้งแรก  แสดงว่าคุณลักษณะเฉพาะบุคคล เช่น สติปัญญา ความเอาใจใส่ ทักษะการเรียนรู้ ของนักศึกษาแต่ละคนที่แตกต่างกันมีผลต่อความสำเร็จในการสอบฯผ่านครั้งแรก อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล 

อ.เพ็ญศรี รอดพรม

๒. ระยะเวลาการจัดการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในชั้นปีที่ ๓ การจัดการเรียนภาคทฤษฎีจนครบแล้วค่อยให้นักศึกษาออกไปฝึกภาคปฏิบัติติดต่อกันเป็นเวลา ๘ เดือน ทำให้นักศึกษาไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีมาใช้ได้ทั้งหมด อาจารย์สอนภาคปฏิบัติจึงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นนักศึกษาให้ทบทวนความรู้อย่างต่อเนื่อง ดร.ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ 

อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี

๓. ความเชี่ยวชาญของอาจารย์นิเทศ อาจารย์ที่มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีการนิเทศนักศึกษาอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดีและการใช้เคสจริงๆเชื่อมโยงความรู้ทำให้นักศึกษาจำได้ดีกว่า อ.จารุณี  จาดพุ่ม 

อ.ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์

๔. การใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เนื่องจากนักศึกษามีแตกต่างกันในวิธีการเรียนรู้ การใช้วิธีการสอนที่เน้นการคิดเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ อภิปรายกรณีศึกษาให้มากขึ้นจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้มากขึ้น เช่น การใช้การทำผังความคิด (Mind Mapping) มากขึ้นเพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี และน่าจะส่งผลดีต่อการสอบได้ อ.เพ็ญศรี รอดพรม 

อ.นฤมล จันทร์สุข

๕.กลุ่มเพื่อน นักศึกษาเป็นกลุ่มวัยรุ่นยังมีพฤติกรรมเลียนแบบเพื่อน  ถ้ากลุ่มเพื่อนชวนกันเรียนชวนกันอ่านนักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะทำตาม ถ้าอยู่ในกลุ่มไม่ชอบอ่านหนังสือ นักศึกษาก็จะไม่เกิดแรงจูงใจหรือไม่มีตัวกระตุ้นให้ต้องอ่านหนังสือ ครูประจำชั้นจึงมีความสำคัญในการกระตุ้นการเรียนรู้แก่นักศึกษา อ.มณีรัตน์  พราหมณี 

อ.อังค์ริสา  พินิจจันทร์

๖. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ -จัดให้มีการใช้ห้องเรียนนอกเวลาเรียนในการจัดกลุ่มติว ระหว่างอาจารย์และกลุ่มเพื่อน 

-การชี้แจงความสำคัญของการสอบฯตั้งแต่การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ให้ผู้ปกครองทราบและให้ผู้ปกครองกระตุ้นและสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาร่วมด้วย

อ.สมทรง  มณีรอด

 

๕. ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพผ่านครั้งแรก  ได้แก่ คุณลักษณะเฉพาะบุคคลเช่น สติปัญญา ความเอาใจใส่ ทักษะการเรียนรู้  การสร้างเป้าหมายร่วมกันของนักศึกษาความเป็นหนึ่งเดียวกันของรุ่น สร้างความรักความสามัคคี และเป้าหมายเดียวกันของนักศึกษาที่จะสอบให้ผ่านทั้งชั้นเรียน กลุ่มเพื่อน โดยเฉพาะเพื่อในชั้นปีที่มีความเป็นผู้นำสูง  ความรู้รับผิดชอบต่อรุ่นหรือชั้นเรียนที่ต้องการให้ทั้งชั้นเรียนสอบผ่าน  ความทุ่มเทของอาจารย์ที่ทำให้นักศึกษาสัมผัสได้และต้องพยายามทำให้ได้  การอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ของวิทยาลัย  การจัดหาอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากที่ต่างๆ มาสอนทบทวน  การได้รับการกระตุ้นเตือนจากอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ  การได้ฝึกทำข้อสอบที่เสมือนจริงอย่างสม่ำเสมอและได้รับการชี้แนะเทคนิคการทำข้อสอบ  การเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเตรียมความพร้อมทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีเอกภาพและประสบความสำเร็จ

๖. แนวทางการนำความรู้ไปใช้

๑.ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน

เวลาสิ้นสุดกิจกรรม  ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ                             ผู้จดบันทึก

(นางอังค์ริสา  พินิจจันทร์)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ



Model การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

Chainat Please Model 25 กค 57