รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ ๒ วันที่   ๑๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖  ณ ห้องประชุม ลีลาวดี  เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐  น.

๑.เรื่อง การศึกษาเอกสาร/งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อนำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่

๑ อ.ดร. ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์               ประธานกลุ่ม

๒ อ.นฤมล        จันทร์สุข                   ผู้จัดการ

๓ อ.นภัทร       เตี๋ยอนุกูล                  สมาชิก

๔ อ.เพ็ญศรี      รอดพรม                   สมาชิก

๕ อ.ปารวีร์       กุลรัตนาวิโรจน์             สมาชิก

๖ อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี                   สมาชิก

๗ อ.มณีรัตน์      พราหมณี                   สมาชิก

๘ อ.จารุณี        จาดพุ่ม                      สมาชิก

๙ อ.สมทรง       มณีรอด                     สมาชิก

๑๐ อ.อังค์ริสา  พินิจจันทร์                   เลขานุการ

๔. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ สาระสำคัญ(เรื่องเล่าความสำเร็จ) ผู้เล่าเรื่อง
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 

อุดรธานี

ประกอบด้วยปัจจัย ๖ ด้าน โดยเรียงลำดับการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้ดังนี้ ๑. สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน ๒ การรับรู้คุณค่าในตนเอง ๓. บรรยากาศในการเรียนรู้ ๔. ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อตัวนักศึกษา ๕. ทัศนคติต่อการเรียน และ ๖. สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ อ.ดร.ปริญดา 

ศรีธราพิพัฒน์

อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล

“การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพ”ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านนักศึกษา  

๑. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิษย์เก่าที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาเล่าประสบการณ์ในการเตรียมตัว

๒. นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทาง รวมทั้งรูปแบบในการเตรียมตัวด้านความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อม

๓. ควรเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังให้เสมือนสอบจริงทุกครั้ง

๔. ฝึกการทำและวิเคราะห์ข้อสอบให้มาก

ด้านอาจารย์

๑. ควรมีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาวิเคราะห์จุดดีหรือจุดอ่อนของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

๒. กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ได้แก่รูปแบบการทบทวนความรู้ ระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์ทั้งคณะได้ทราบและเกิดความร่วมมือ

๓. จัดทำข้อสอบคู่ขนานตามแบบพิมพ์เขียวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๔. กำหนดให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบให้มาก โดยจัดสอบความรู้รวบยอดทั้ง 8รายวิชา โดยจัดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง

๕. ทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบที่ถูกต้องของเฉลยแต่ละข้อ

อ.เพ็ญศรี รอดพรม 

อ.มณีรัตน์  พราหมณี

อ.นฤมล  จันทร์สุข

การเตรียมตัวสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง 

ตามประสบการณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม

มีหลักที่สำคัญสองประเด็นด้วยกันคือ ๑. การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ และ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบได้แก่ ความสามารถเฉพาะบุคคล กลวิธีจัดการศึกษาและอาจารย์ สถานที่อยู่อาศัยและแรงจูงใจจากคนรอบข้าง อ.จารุณี  จาดพุ่ม 

อ.อังค์ริสา  พินิจจันทร์

“แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสู่วิชาชีพพยาบาล” วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา สรุปประเด็นที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices)  

๑. ด้านอาจารย์ มอบหมายให้รับผิดชอบสอนเสริมในหัวข้อที่เชี่ยวชาญและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และยึดตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล

๒. การสอนเสริมช่วงแรก จะสอนเสริมเป็นกลุ่มใหญ่ สอนทุกเนื้อหาตาม Bluprint เน้น Concept พร้อมยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษามีประสบการณ์จาก

๓. การสอบ แต่งข้อสอบหรือเขียนข้อสอบข้อที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และตรงตาม Blueprint สภา

๔. ภายหลังการสอบในแต่ละครั้ง แจ้งผลการสอบแก่นักศึกษา โดยแยกเนื้อหาตาม Blueprint และแจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนเสริมรับทราบ

๕.การเฉลยข้อสอบ อาจารย์สอนตั้งแต่เทคนิคการตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องและเฉลยตัวเลือกที่ถูกต้องพร้อมเหตุผลประกอบ

๖. การแบ่งกลุ่มย่อย แบ่งตามคะแนนของนักศึกษาเป็น๘ กลุ่มย่อย ซึ่งอาจารย์จะมีความใกล้ชิดนักศึกษามากขึ้น ส่งผลให้สามารถสอนนักศึกษาได้ทั่วถึง

๗. การทำข้อสอบบ่อยๆ ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญจากโจทย์และตัดสินใจเลือกคำตอบในเวลาที่จำกัด

๘. เพื่อนช่วยเพื่อน ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสอธิบายให้เพื่อนฟังได้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ในบางประเด็นที่เพื่อนฟังอาจารย์แล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงตามความเป็นจริง

๙. การติดตาม การติดตามประเมินผลเป็นระยะๆขณะดำเนินงาน

๑๐. กลยุทธ์ของสถาบัน ประกอบด้วย “กลยุทธ์ ๖ ประการสู่ความสำเร็จ”

๑๑. ขวัญและกำลังใจจากผู้บริหาร

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

๑. ผู้บริหาร

๒. นักศึกษา

๓. อาจารย์

๔. การมีส่วนร่วม

อ.สมทรง  มณีรอด 

อ.ปารวีร์

กุลรัตนาวิโรจน์

อ.ดร.จารุวรรณ

ก้านศรี

๕. ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

มีหลักที่สำคัญสองประเด็นด้วยกันคือ ๑. การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ และ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบได้แก่ ความสามารถเฉพาะบุคคล กลวิธีจัดการศึกษาและอาจารย์ สถานที่อยู่อาศัยและแรงจูงใจจากคนรอบข้าง

ด้านนักศึกษา

๑. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิษย์เก่าที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาเล่าประสบการณ์ในการเตรียมตัว

๒. นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทาง รวมทั้งรูปแบบในการเตรียมตัวด้านความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อม

๓. ควรเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังให้เสมือนสอบจริงทุกครั้ง

๔. ฝึกการทำและวิเคราะห์ข้อสอบให้มาก

๕. ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสอธิบายให้เพื่อนฟังได้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ในบางประเด็นที่เพื่อนฟังอาจารย์แล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงตามความเป็นจริง

ด้านอาจารย์

๑. ควรมีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาวิเคราะห์จุดดีหรือจุดอ่อนของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

๒. กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ได้แก่รูปแบบการทบทวนความรู้ ระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์ทั้งคณะได้ทราบและเกิดความร่วมมือ

๓. จัดทำข้อสอบคู่ขนานตามแบบพิมพ์เขียวข้อสอบของสภาการพยาบาล

๔. กำหนดให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบให้มาก โดยจัดสอบความรู้รวบยอดทั้ง 8รายวิชา โดยจัดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง

๕. ทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบที่ถูกต้องของเฉลยแต่ละข้อ

๖. มอบหมายให้รับผิดชอบสอนเสริมในหัวข้อที่เชี่ยวชาญและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และยึดตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล

๗. ภายหลังการสอบในแต่ละครั้ง แจ้งผลการสอบแก่นักศึกษา โดยแยกเนื้อหาตาม Blueprint และแจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนเสริมรับทราบ

๖. แนวทางการนำความรู้ไปใช้

๑. จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมในการสอบสภาฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๖

เวลาสิ้นสุดกิจกรรม  ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ                                ผู้จดบันทึก

(นางอังค์ริสา  พินิจจันทร์)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

This entry was posted on วันพุธ, สิงหาคม 20th, 2014 at 1:43 am and is filed under ฝ่ายวิชาการ. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

3 Comments

  1. จรัญศักดิ์ says:

    เป็นแนวทางที่น่าจะพัฒนาการเรียนของเด็กได้

    ... on July สิงหาคม 27th, 2014
  2. Jar says:

    เห็นด้วยกับการมีรุ่นพี่มาช่วยติว เพราะความสัมพันธ์ พี่-น้อง ทำให้เกิดความรักและมุ่งมั่นร่วมกัน

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  3. SURASAK says:

    1.คิดว่าเป็นการจัดการความรู้ที่น่าสนใจ ครั้งต่อไปถ้าสามารถจัดให้มีกระบวนการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มนักศึกษา

    2. การเตรียมการเพื่อ เตรียมตัวสอบ วัดความรู้ ถ้าได้เตรียมนักศึกษาตั้งแต่ปีแรกๆ มีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014

Post a Comment