รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุม ลีลาวดี เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๑.เรื่อง การศึกษาเอกสาร/งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล
๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อนำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล
๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่
๑ อ.ดร. ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ ประธานกลุ่ม
๒ อ.นฤมล จันทร์สุข ผู้จัดการ
๓ อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล สมาชิก
๔ อ.เพ็ญศรี รอดพรม สมาชิก
๕ อ.ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์ สมาชิก
๖ อ.ดร.จารุวรรณ ก้านศรี สมาชิก
๗ อ.มณีรัตน์ พราหมณี สมาชิก
๘ อ.จารุณี จาดพุ่ม สมาชิก
๙ อ.สมทรง มณีรอด สมาชิก
๑๐ อ.อังค์ริสา พินิจจันทร์ เลขานุการ
๔. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นสำคัญ | สาระสำคัญ(เรื่องเล่าความสำเร็จ) | ผู้เล่าเรื่อง |
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุดรธานี |
ประกอบด้วยปัจจัย ๖ ด้าน โดยเรียงลำดับการพยากรณ์จากมากไปน้อยได้ดังนี้ ๑. สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน ๒ การรับรู้คุณค่าในตนเอง ๓. บรรยากาศในการเรียนรู้ ๔. ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อตัวนักศึกษา ๕. ทัศนคติต่อการเรียน และ ๖. สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ | อ.ดร.ปริญดา
ศรีธราพิพัฒน์ อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล |
“การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อการสอบขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพ”ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ด้านนักศึกษา
๑. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิษย์เก่าที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาเล่าประสบการณ์ในการเตรียมตัว ๒. นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทาง รวมทั้งรูปแบบในการเตรียมตัวด้านความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อม ๓. ควรเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังให้เสมือนสอบจริงทุกครั้ง ๔. ฝึกการทำและวิเคราะห์ข้อสอบให้มาก ด้านอาจารย์ ๑. ควรมีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาวิเคราะห์จุดดีหรือจุดอ่อนของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา ๒. กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ได้แก่รูปแบบการทบทวนความรู้ ระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์ทั้งคณะได้ทราบและเกิดความร่วมมือ ๓. จัดทำข้อสอบคู่ขนานตามแบบพิมพ์เขียวข้อสอบของสภาการพยาบาล ๔. กำหนดให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบให้มาก โดยจัดสอบความรู้รวบยอดทั้ง 8รายวิชา โดยจัดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง ๕. ทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบที่ถูกต้องของเฉลยแต่ละข้อ |
อ.เพ็ญศรี รอดพรม
อ.มณีรัตน์ พราหมณี อ.นฤมล จันทร์สุข |
การเตรียมตัวสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
ตามประสบการณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม |
มีหลักที่สำคัญสองประเด็นด้วยกันคือ ๑. การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ และ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบได้แก่ ความสามารถเฉพาะบุคคล กลวิธีจัดการศึกษาและอาจารย์ สถานที่อยู่อาศัยและแรงจูงใจจากคนรอบข้าง | อ.จารุณี จาดพุ่ม
อ.อังค์ริสา พินิจจันทร์ |
“แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสู่วิชาชีพพยาบาล” วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา | สรุปประเด็นที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices)
๑. ด้านอาจารย์ มอบหมายให้รับผิดชอบสอนเสริมในหัวข้อที่เชี่ยวชาญและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และยึดตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล ๒. การสอนเสริมช่วงแรก จะสอนเสริมเป็นกลุ่มใหญ่ สอนทุกเนื้อหาตาม Bluprint เน้น Concept พร้อมยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษามีประสบการณ์จาก ๓. การสอบ แต่งข้อสอบหรือเขียนข้อสอบข้อที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และตรงตาม Blueprint สภา ๔. ภายหลังการสอบในแต่ละครั้ง แจ้งผลการสอบแก่นักศึกษา โดยแยกเนื้อหาตาม Blueprint และแจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนเสริมรับทราบ ๕.การเฉลยข้อสอบ อาจารย์สอนตั้งแต่เทคนิคการตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องและเฉลยตัวเลือกที่ถูกต้องพร้อมเหตุผลประกอบ ๖. การแบ่งกลุ่มย่อย แบ่งตามคะแนนของนักศึกษาเป็น๘ กลุ่มย่อย ซึ่งอาจารย์จะมีความใกล้ชิดนักศึกษามากขึ้น ส่งผลให้สามารถสอนนักศึกษาได้ทั่วถึง ๗. การทำข้อสอบบ่อยๆ ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญจากโจทย์และตัดสินใจเลือกคำตอบในเวลาที่จำกัด ๘. เพื่อนช่วยเพื่อน ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสอธิบายให้เพื่อนฟังได้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ในบางประเด็นที่เพื่อนฟังอาจารย์แล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงตามความเป็นจริง ๙. การติดตาม การติดตามประเมินผลเป็นระยะๆขณะดำเนินงาน ๑๐. กลยุทธ์ของสถาบัน ประกอบด้วย “กลยุทธ์ ๖ ประการสู่ความสำเร็จ” ๑๑. ขวัญและกำลังใจจากผู้บริหาร ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ๑. ผู้บริหาร ๒. นักศึกษา ๓. อาจารย์ ๔. การมีส่วนร่วม |
อ.สมทรง มณีรอด
อ.ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์ อ.ดร.จารุวรรณ ก้านศรี |
๕. ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้
มีหลักที่สำคัญสองประเด็นด้วยกันคือ ๑. การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ และ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสอบได้แก่ ความสามารถเฉพาะบุคคล กลวิธีจัดการศึกษาและอาจารย์ สถานที่อยู่อาศัยและแรงจูงใจจากคนรอบข้าง
ด้านนักศึกษา
๑. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศิษย์เก่าที่พึ่งสำเร็จการศึกษามาเล่าประสบการณ์ในการเตรียมตัว
๒. นักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการวางแนวทาง รวมทั้งรูปแบบในการเตรียมตัวด้านความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อม
๓. ควรเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังให้เสมือนสอบจริงทุกครั้ง
๔. ฝึกการทำและวิเคราะห์ข้อสอบให้มาก
๕. ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสอธิบายให้เพื่อนฟังได้ชัดเจนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ในบางประเด็นที่เพื่อนฟังอาจารย์แล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงตามความเป็นจริง
ด้านอาจารย์
๑. ควรมีการประชุมคณะกรรมการหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาวิเคราะห์จุดดีหรือจุดอ่อนของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา
๒. กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ได้แก่รูปแบบการทบทวนความรู้ ระยะเวลาอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์ทั้งคณะได้ทราบและเกิดความร่วมมือ
๓. จัดทำข้อสอบคู่ขนานตามแบบพิมพ์เขียวข้อสอบของสภาการพยาบาล
๔. กำหนดให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบให้มาก โดยจัดสอบความรู้รวบยอดทั้ง 8รายวิชา โดยจัดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง
๕. ทบทวนความรู้ให้กับนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด โดยเน้นการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบที่ถูกต้องของเฉลยแต่ละข้อ
๖. มอบหมายให้รับผิดชอบสอนเสริมในหัวข้อที่เชี่ยวชาญและสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์สอน และยึดตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล
๗. ภายหลังการสอบในแต่ละครั้ง แจ้งผลการสอบแก่นักศึกษา โดยแยกเนื้อหาตาม Blueprint และแจ้งให้กับอาจารย์ที่สอนเสริมรับทราบ
๖. แนวทางการนำความรู้ไปใช้
๑. จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมในการสอบสภาฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๖
เวลาสิ้นสุดกิจกรรม ๑๖.๐๐ น.
ลงชื่อ ผู้จดบันทึก
(นางอังค์ริสา พินิจจันทร์)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
จรัญศักดิ์ says:
เป็นแนวทางที่น่าจะพัฒนาการเรียนของเด็กได้
Jar says:
เห็นด้วยกับการมีรุ่นพี่มาช่วยติว เพราะความสัมพันธ์ พี่-น้อง ทำให้เกิดความรักและมุ่งมั่นร่วมกัน
SURASAK says:
1.คิดว่าเป็นการจัดการความรู้ที่น่าสนใจ ครั้งต่อไปถ้าสามารถจัดให้มีกระบวนการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มนักศึกษา
2. การเตรียมการเพื่อ เตรียมตัวสอบ วัดความรู้ ถ้าได้เตรียมนักศึกษาตั้งแต่ปีแรกๆ มีความเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร