รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

รายงานการประชุมของ Cop การเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล

ครั้งที่ ๓ วันที่   ๗  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๗  ณ ห้องประชุม ลีลาวดี  เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.

๑.เรื่อง “แนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพ”

๒. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติที่ดี

๓. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่

วิทยากรจากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน ๖ คน ได้แก่

๑.อ.ดร. ศรีสกุล  เฉียบแหลม

๒.อ.วารุณี  สุวรวัฒนกุล

๓.อ.โศภิณศิริ  ยุทธวิสุทธ์

๔.อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร

๕.อ.ราตรี  อร่ามศิลป์

๖.อ. จรัญญา  ดีจะโปะ

คณาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท จำนวน ๒๐ คน ได้แก่

๑.อ.ดร. ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์

๒.อ.นฤมล        จันทร์สุข

๓.อ.นภัทร        เตี๋ยอนุกูล

๔.อ.เพ็ญศรี       รอดพรม

๕.อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี

๖.อ.มณีรัตน์      พราหมณี

๗.อ.จารุณี        จาดพุ่ม

๘.อ.สมทรง       มณีรอด

๙.อ.อังค์ริสา      พินิจจันทร์

๑๐.อ.สายฝน     อำพันกาญจน์

๑๑.อ. มณี        ดีประสิทธิ์

๑๒.อ.มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์

๑๓.อ. ภัทรวดี    ศรีนวล

๑๔.อ. ชวนนท์   จันทร์สุข

๑๕.อ. สุทิศา     สงวนสัจ

๑๖.อ. ยุทธนา    นุ่นละออง

๑๗.อ. จรัญศักดิ์  พีรศักดิ์โสภณ

๑๘.อ.จีระภา     นะแส

๑๙.อ.นภัสสร     ยอดทองดี

๒๐.อ.นันตพร    ทองเต็ม

๔. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ สาระสำคัญ(เรื่องเล่าความสำเร็จ) ผู้เล่าเรื่อง
การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี - เน้นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน จุดยืนชัดเจน พันธกิจอื่นเป็นรอง 

-นำข้อมูลผลการสอบสภา มาเป็นข้อมูลป้อนกลับ สะท้อนกระบวนการจัดการศึกษา

-ครูประจำชั้น ติดตามดูเกรดของนักศึกษาทุกเทอม วิเคราะห์ดูว่ารายวิชาใดที่อ่อน สอนการเตรียมพร้อม ปรับแก้ไข ติดตามตั้งแต่ปี ๑-๓  เมื่อถึงปี ๔ เตรียมพร้อมการอ่านหนังสือ วางแผนตารางการอ่าน สอนหลักการอ่าน อ่านวิชาที่ง่ายก่อน

-ครูประจำชั้นตรวจสอบ short note ของนักศึกษาที่ไปอ่านทบทวนด้วยตนเองตามแผนที่นักศึกษาวางไว้ และช่วยติวในรายวิชาที่ตนเองเชี่ยวชาญ แต่รายวิชาที่ตนไม่สามารถติวได้จะทำหน้าที่ประสานงานให้อาจารย์ที่เกี่ยวข้องมาบรรยาย

-อาจารย์จบใหม่ที่ตรวจงานนักศึกษาต้องมีครูพี่เลี้ยงในการ coaching ตรวจซ้ำเพื่อชี้ประเด็นในการพัฒนานักศึกษา

-มีการสอน case study ปี ๒ ครูเลือก case ให้นักศึกษาศึกษา  ปี ๓ ครูชี้ประเด็นรายวิชา ให้นักศึกษาเลือก case เอง ตามขอบเขตวิชา ครูเริ่มให้ตั้งแต่วันแรกๆ

-ครูตรวจงานแล้วครูมอบหมายงานให้นักศึกษาอ่าน เนื้อหาในโรคนายวิชาพื้นฐาน  lab ให้อ่านจุลชีวะ  ยา อ่านยา   โรค อ่าน anatomy  ครูมอบหมายนักศึกษามาเล่าในชั่วโมง conference   ให้นักศึกษาส่งงานก่อนการนำเสนอ ครูจะตรวจคร่าวๆ เพื่อให้นักศึกษาค้นคว้าแล้วปรับแก้ไข  วัน conference ครูชี้ประเด็นเน้นการ nursing process สอนในแต่ละขั้นตอนเพื่อสะท้อน

-ขณะเรียน นักศึกษาต้อง short note อ่าน  ครูสรุปประเด็นจาก main concept สภาการพยาบาลมาสอดแทรก

อ.ดร. ศรีสกุล 

เฉียบแหลม

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการผดุงครรภ์ การพยาบาลมารดาและทารก วิเคราะห์ blue print สภาการพยาบาลเทียบกับเนื้อหาการสอน การสอนในภาคปฏิบัติเน้น long term memory  การวิเคราะห์ NCP ของนักศึกษาที่จะขึ้นฝึก ครูต้อง conference ในหัวข้อตาม blue print  เกี่ยวกับโรค ครูเน้นการนำกระบวนการพยาบาล ครูบน ward พยายามไม่ทิ้งนักศึกษา และชี้ประเด็นการนำ กระบวนการพยาบาลไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล   ครูปรับ case study ให้ตรงกับลักษณะรายวิชา  นักศึกษาเก็บ case มาตลอดการฝึก ครู conference ชี้ประเด็นที่สำคัญของโรคที่เน้นเฉพาะ ครูชี้ให้เห็นภาพรวมของโรคและชี้การเชื่อมโยงรายวิชา อ. จรัญญา  ดีจะโปะ 

อ.มณีรัตน์ พราหมณี

อ.สายฝน  อำพันกาญจน์

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุ -วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพื้นฐาน 

-เวลาขึ้น ward มีการสอบปากเปล่า จากกระบวนการพยาบาล การดูแลปัจจุบัน  ครูบน ward ตรวจดูรายงานการวางแผนกระบวนการพยาบาลตอนเช้า   oral test ตอนบ่าย

ครูออกข้อสอบและต้องเฉลยคำตอบ วิเคราะห์คำตอบ เพื่อสอนวิธีการคิด  ต้องมีการวิพากษ์ข้อสอบ ข้ามรายวิชา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน นักศึกษาอ่านแล้วเข้าใจ โดยคณะกรรมการมากกว่า ๓ คน

-การสอบภาคปฏิบัติ ใช้ข้อสอบบรรยายในการเขียนเพื่อนำมาเชื่อมโยงความรู้

-หากพบว่านักศึกษาอ่อนมาก  ต้องกล้าให้นักศึกษาตก  ward แต่ครูต้องมีหลักฐานและมีการเตรียมข้อมูล  ต้องแจ้งฝ่ายวิชาการ

-ต้องมีการสร้างทัศนคติต่อเด็กที่อ่อนและจำเป็นต้องให้ตกward ว่าเป็นโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น  ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  ได้เปรียบเพื่อนคนอื่น  โดยครูก็ต้องเสียสละในการต้องมาสอนเพิ่มเติม

-ครูไม่ควรมีการทิ้งนักศึกษาไว้บน ward  หากครูต้องลงมาทำกิจกรรม ควรต้องมีครูทดแทนหรือเอานักศึกษาลงมาด้วย

-การหาคนขึ้นward แทน ก็ต้องตัดโอนภาระงานให้ด้วย

อ.ดร. ศรีสกุล 

เฉียบแหลม

อ.ดร. ปริญดา

ศรีธราพิพัฒน์

อ.เพ็ญศรี รอดพรม

อ. มณี   ดีประสิทธิ์

อ.นันตพร ทองเต็ม

อ.จรัญศักดิ์ พีรศักดิ์โสภณ

อ.มณฑาทิพย์

สุรินทร์อาภรณ์

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น มีการปรับรูปแบบการสอนทบทวนในบางรายวิชา ได้แก่ วิชาการพยาบาลเด็ก จากการที่ให้อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบการสอนคนละ ๑-๒ ชั่วโมง  เป็นการสอนทบทวนโดยอาจารย์เพียง ๑ ท่านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เชื่อมโยงของเนื้อหา  และมีการเสนอแนะว่าควรสอนเป็นระบบจะได้ผลกว่าการสอนแยก  เช่นระบบหายใจ ไม่ควรแยกสอนเป็นผู้ป่วยเด็กหรือผู้ป่วยผู้ใหญ่ แต่ควรสอนทบทวนเป็นระบบจะดีกว่า 

จัดสรรครูที่เก่งในแต่ละสาขาเข้าไปสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นครูเด็ก สอนจิตวิทยาในวัยเด็ก สอนวัคซีน สอนพัฒนาการเด็ก ในรายวิชาสร้างเสริม สอนระบบในวัยเด็กฯ

-จัดสรรครูที่เก่งในแต่ละสาขาเข้าไปสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นครูเด็ก สอนจิตวิทยาในวัยเด็ก สอนวัคซีน สอนพัฒนาการเด็ก ในรายวิชาสร้างเสริม สอนระบบในวัยเด็กฯ

-มีระบบการสะท้อนผลการพัฒนา ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน  ปรับกำลังใจให้นักศึกษา  มีระบบการสอบ pre-test post –rest ของแต่ละ ward

-การวิเคราะห์รายวิชา ยึด concept  continuous of illness คือ acute chronic crisis    content

-การจัดประสบการณ์ตามรายวิชากับลักษณะวิชา  การมอบหมาย alignment ตามลำดับความสามารถของนักศึกษา ไม่กระทบนักศึกษามาก ไม่สร้าง stress แก่นักศึกษา

-การแยกประสบการณ์ตามองค์ความรู้  เช่น ปี ๒ เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูล เน้นการพยาบาล  ปี ๓ เน้นการตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และเหตุผลของการให้การพยาบาลตามแผนการรักษา

อ.วารุณี  สุวรวัฒนกุล 

อ.จารุณี จาดพุ่ม

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ข้อสอบมาวิเคราะห์ผลสอบกับเนื้อหาใน blueprint ว่านักศึกษาอ่อนเรื่องอะไร ให้นักศึกษาทำข้อสอบแล้วเฉลย  ให้แนวทางในการเลือกคำตอบว่าให้สวมบทบาทเป็นคนไข้ตามสถานการณ์ในข้อสอบ แล้วถึงเลือกตอบ เน้นบทที่ออกมากที่สุด คือการสร้างสัมพันธภาพ 

๑.      กลุ่มวิชาทำคู่มือเนื้อหาเพื่อสรุปสาระในการติว main comcept

๒.      ครูติว concept

๓.      ทดสอบนักศึกษา

๔.      แบ่งกลุ่มนศ. อ่อน เก่ง

๕.      แบ่งอาจารย์ที่เก่งมากๆ ติวนักศึกษากลุ่มอ่อน นศ.เก่ง อาจารย์สอนปานกลาง

๖.      จัดแบ่งเวลาในการติวให้นักศึกษาที่กลุ่มอ่อนมาก  ไม่เข้าใจแล้วไม่บ่อย

๗.      ย้ายกลุ่มนักศึกษาเมื่อผลแต่ละรอบ เพื่อสร้างเสริมแรงนักศึกษาที่ได้ย้ายกลุ่มมา

๘.      ครูติวพร้อมเฉลยคำตอบแต่ละข้อ และอธิบายความเข้าใจ นักศึกษาก็จะได้วิธีคิด

ครูกระตุ้นเสริมวิธีคิดโดยการสอบ วางเป้าหมาย   ของแต่ละรายวิชาและดูค่าเฉลี่ยของคะแนน

อ.โศภิณศิริ  ยุทธวิสุทธ์ 

อ.ดร.จารุวรรณ  ก้านศรี

อ.นภัสสร  ยอดทองดี

อ. ชวนนท์  จันทร์สุข

อ. ภัทรวดี  ศรีนวล

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการ 

รักษาเบื้องต้น

ในการสอนทบทวนจะมีการเน้นที่แตกต่างกันในแต่ละสนามสอบเช่นเครือข่าย สบช. รามา ซึ่งแต่สถาบันจะมีการเน้นที่แตกต่างกัน มีการวิเคราะห์ข้อสอบกับ blueprint ว่านักศึกษาตกหัวข้อใดมาก และสอบถามนักศึกษาว่าไม่เข้าใจ หรืออ่อนในเรื่องใด เก็บรวบรวมมาประชุมกลุ่มอาจารย์ผู้สอน  มีการสอนวิธีการและเทคนิคทำข้อสอบ โดยเน้นคำสำคัญ (keyword) ที่โจทย์ถาม เช่น ลำดับแรก สำคัญที่สุด อย่างยั่งยืน (หมายถึงต้องมีการรวมกลุ่มของชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ประชาชนมีส่วนร่วมทุกเรื่องทุกขั้นตอน) ตัวเลือกที่ผิดโดดไม่เข้าพวกไม่อยู่ในหมวดหมู่กับตัวเลือกอื่นให้ตัดทิ้ง  มีการเชิญอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลอื่นมากวดวิชา ซึ่งอาจารย์สามารถปูพื้นความรู้ตั้งแต่ กายวิภาคฯ พยาธิสภาพ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับกลุ่มวิชาอื่นได้ด้วย อ.ราตรี  อร่ามศิลป์ 

อ.ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์

อ.สุทิศา  สงวนสัจ

อ.ศศิมา  พึ่งโพธิ์ทอง

อ.อรนุช  นุ่นละออง

อ.ยุทธนา  นุ่นละออง

อ. อังค์ริสา  พินิจจันทร์

การเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพวิชากฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพฯ รวบรวมข้อสอบจากนักศึกษาและเพิ่มเติมข้อที่ไม่สมบูรณ์จากเครือข่าย  และหาข้อสอบมาเพิ่มจากเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคเหนือ  นำข้อสอบที่ได้ส่งไปให้อาจารย์ภายนอกที่เชิญมาสอนเฉลย และเตรียมการสอน มีการเชิญอาจารย์ภายนอก ๒ ท่านมาสอนเพิ่มเติมจากอาจารย์ประจำในวิทยาลัยฯที่ทำการสอนทบทวนเองโดยนำข้อสอบและเฉลย หลักการ และขยายความจากตัวข้อสอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องในตัวเลือก อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร 

อ.สมทรง มณีรอด

๕. ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

ผู้บริหาร

เน้นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน จุดยืนชัดเจน พันธกิจอื่นเป็นรอง

-นำข้อมูลผลการสอบสภา มาเป็นข้อมูลป้อนกลับ สะท้อนกระบวนการจัดการศึกษา

-ครูประจำชั้น ติดตามดูเกรดของนักศึกษาทุกเทอม วิเคราะห์ดูว่ารายวิชาใดที่อ่อน สอนการเตรียมพร้อม ปรับแก้ไข ติดตามตั้งแต่ปี ๑-๓  เมื่อถึงปี ๔ เตรียมพร้อมการอ่านหนังสือ วางแผนตารางการอ่าน สอนหลักการอ่าน อ่านวิชาที่ง่ายก่อน

-วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพื้นฐาน

-จัดสรรครูที่เก่งในแต่ละสาขาเข้าไปสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นครูเด็ก สอนจิตวิทยาในวัยเด็ก สอนวัคซีน สอนพัฒนาการเด็ก ในรายวิชาสร้างเสริม สอนระบบในวัยเด็กฯ

-มีระบบการสะท้อนผลการพัฒนา ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน  ปรับกำลังใจให้นักศึกษา  มีระบบการสอบ pre-test post –rest ของแต่ละ ward

อาจารย์

-วิเคราะห์ blue print สภาการพยาบาลเทียบกับเนื้อหาการสอน การสอนในภาคปฏิบัติเน้น long term memory 

-มีระบบการสะท้อนผลการพัฒนา ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน  ปรับกำลังใจให้นักศึกษา  มีระบบการสอบ pre-test post –rest ของแต่ละ ward

-ทำคู่มือเนื้อหาเพื่อสรุปสาระในการติว main comcept

-รวบรวมข้อสอบจากนักศึกษาและเพิ่มเติมข้อที่ไม่สมบูรณ์จากเครือข่าย

-สอนวิธีการและเทคนิคทำข้อสอบ โดยเน้นคำสำคัญ (keyword) ที่โจทย์ถาม

-จัดแบ่งเวลาในการติวให้นักศึกษาที่กลุ่มอ่อนมาก  ไม่เข้าใจแล้วไม่บ่อย

-เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลอื่นมากวดวิชา

นักศึกษา

-การสอบเป็นเครื่องหมายของความสำเร็จและจุดเริ่มต้นที่จำเป็นของการก้าวเข้าสู่วิชาชีพ

-การยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน สายงานสายอาชีพเราค่ะ ว่าถ้าเราสอบผ่านมันก็จะเป็นแบบการันตีได้ว่าเป็นการการันตีได้อย่างหนึ่งว่าเรามีความสามารถพอที่จะไปดูแลคนไข้

-ปัจจัยภายในหรือพลังอำนาจที่มีอยู่ในตนเอง ที่มั่นใจในตนเองว่าจะสอบผ่าน

-เพื่อนมีอิทธิพลมาก ทั้งเพื่อนที่เป็นผู้นำและเพื่อนที่เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียน เพราะเมื่อเห็นเพื่อนอ่าน นักศึกษาก็ต้องอ่าน

๖. แนวทางการนำความรู้ไปใช้

๑. จัดทำแนวปฏิบัติปฏิบัติการเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลเพื่อการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพครั้งแรก ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

เวลาสิ้นสุดกิจกรรม  ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ                              ผู้จดบันทึก

(นางอังค์ริสา  พินิจจันทร์)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

This entry was posted on วันพุธ, สิงหาคม 20th, 2014 at 1:44 am and is filed under ฝ่ายวิชาการ. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

30 Comments

  1. somsong maneerod says:

    ด้านนักศึกษา: ต้องตั้งเข็มมุ่ง มุ่งมั่นตั้งใจ วางแผนการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมที่จะทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีพลังความเชื่อมั่นและมั่นใจในตนเอง
    ด้านอาจารย์ : มีแผนในการดำเนินงาน มีผู้รับผิดชอบ ฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ เข้าใจ concept มีการควบคุม กำกับ ประเมินผลและปรับปรุงเป็นระยะ เชิญผู้เชี่ยวชาญมาติวเพื่อเปิดโลกท้ศน์ และสร้างเครือข่าย
    ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้: อำนวยความสะดวกในการใช้ห้องเรียน นอกเวลา สื่อ -โสตทัศนูปกรณ์ สนับสนุนเครื่องดื่มเพื่อเป็นกำลังใจแก่นักศึกษา

    ... on July สิงหาคม 27th, 2014
  2. จรัญศักดิ์ says:

    ขมักเขม้นกันจริงนะ

    ... on July สิงหาคม 27th, 2014
  3. Parinda says:

    การพัฒนาผลสอบที่สำคัญ คือ
    1. ครูผู้สอน ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเชิ่มโยงบูรณาการการเรียนการสอนสู่สภาพการณ์จริงได้อย่างสิดคล้อง และต้องติดตามการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง การติดตามเเนวโน้มการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ และทิศทางข้อสอบ และมีความ
    สามารถในการสรุปชี้ประเด็นการคิดให้เกิดการวิเคราะห์
    2. กระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีคุณภาพ ควรเน้นการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงความรู้ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ควรนำสถานการณ์ภาคปฏิบัติมาสอนให้เห็นองค์รู้ที่ชัดเจน
    3. ควรมีการจัดเก็บคลังข้อสอบที่มีคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาเเนวข้อสอบ

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  4. อ.ยุทธนา says:

    นักศึกษามีการติวแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  5. อ.อรนุช says:

    ควรทำ speed test ในทุกรายวิชา เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำข้อสอบ

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  6. Chawanon Jansook says:

    ที่จะช่วยนักศึกษาสอบผ่าน มีทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก การลองทำข้อสอบ มีอีกอย่างคือ ข้อสอบวินิจฉัย ในแต่ละรายวิชา องค์จะทราบว่า นักศึกษาทานใดมีแนวโน้มผ่าน ไม่ผ่าน แก้ได้ตรงจุด และบุคคล

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  7. Jar says:

    สร้างพลังนักศึกษาก่อนค่ะ

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  8. สุทิศา says:

    ต้องเตรียมสอบทบทวนต้องเริ่มตั้งแต่ปี ๓

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  9. Monthathip says:

    ใช้ concept mapping เชื่อมโยงกับผู้ป่วยในการศึกษาภาคปฏิติ

    ... on July สิงหาคม 28th, 2014
  10. Sasima says:

    ควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาตั้งแต่ปี 1 เพื่อปูพื้นฐานให้นักศึกษา

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  11. Wisut says:

    ควรมีการประเมินความรู้หรือทุนที่นักศึกษามีอยู่เป็นระยะตลอด 4 ปี และช่วยเหลือนักศึกษาในส่วนที่ต้องการ

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  12. พิมใจ says:

    ต้องเสริมแรง มากๆและค่อยกระตุ้นถามนักศึกษาบ่อยๆ ควรจะเริ่มตั้งแต่ปี 2 เพื่อให้เตรียมตัวสะสมไปเรื่อยๆ ค่ะ

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  13. พิมใจ says:

    กระตุ้นถามนักศึกษาบ่อยๆ ควรจะเริ่มตั้งแต่ปี 2 เพื่อให้เตรียมตัวสะสมไปเรื่อยๆ ค่ะ

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  14. JARUWAN says:

    ควรเพิ่มเติมการให้ น.ศ.ทำconcept mapping ตั้งแต่เรียนภาคทฤษฎี เพื่อต่อยอดกับการนำไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติ และการนำไปทบทวนช่วงเตรียมสอบสภา การสอนให้นักศึกษาคิดเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติจะช่วยให้ น.ศ.จดจำได้มากขึ้น

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  15. Nuntabhorn says:

    เห็นด้วยกับการทำ concept mapping ค่ะ เพราะทำให้คิดอย่างเป็นระบบ

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  16. nuntabhorn says:

    เห็นด้วยกับการทำ concept mapping ค่ะ เพราะจะทำให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  17. อ.ปรีดาวรรณ says:

    ในการนิเทศ อาจารย์นิเทศอาจจะมีการเตรียมข้อสอบหรือแนวข้อสอบ และเนื้อหาที่ออกข้อสอบสภาฯ ตรงตาม Blueprint ของสภาการพยาบาล มาให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบ พร้อมกับเฉลยและอธิบายเหตุผลที่ถูกต้อง อาจใช้เวลาหลักจาก Conferanec case study ก็ได้ค่ะ (นำมาจากตอนฝึกสอนครูคลินิค ที่ วพบ.ขอนแก่น) ค่ะ

    ... on July สิงหาคม 29th, 2014
  18. นภัสสร says:

    ต้องช่วยให้นักศึกษา รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองก่อน ต้องเสริมวิชาอะไรให้หนักแน่น และต้องผ่อนวิชาอะไรให้พอดี เพื่อการเตรียมพร้อมรับจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนทีเหมาะสม เพื่อจะนำไปใช้ในการสอบ

    ... on July สิงหาคม 31st, 2015
  19. อ.ปารวีร์ says:

    ควรเตรียมความพร้อมตั้งแต่ภาคปฏิบัติ ในการสอนของอาจารย์นิเทศ ควรมีความสอดคล้องกับทฤษฏี เน้นให้นักศึกษานำความรุู้ไปประยุกต์ใช้ และคิดวิเคระห์ เพื่อนำสู่ข้อสอบสภา รวมทั้งในการสอบ Post test หลังฝึกปฏิบัติ ควรนึกถึง ข้อสอบสภาด้วย เน้นการคิดวิเคราะห์และการนำไปใช้

    ... on July สิงหาคม 31st, 2015
  20. Phimphan says:

    นักศึกษาต้องมีการเตรียมตัวด้วยตนเองเหมือนการวางแผนชีวิตว่าจะมีแนวทางพัฒนาตนเองอย่างไรและใช้เวลาอย่างไรเหมือนกับการทำPDCA

    ... on July กันยายน 4th, 2015
  21. Dr.parinda says:

    -การจะทำให้ผลลัพธ์จของบัณฑืตได้ผลดี ควรมีการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าทั้งจาก
    1) ตัวนักศึกษาทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
    2) อาจารย์ผู้สอน ควรเน้นการพัฒนาความเชี่ยวชาญที่ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ คุณวุฒิ ประสบการณ์การบริการวิชาการและการวิจัยในสาขาคงวามเชี่ยวชาญนั้นจริง การมีเวทีที่เปิดโอกาสให้่ผู้ทมี่มีความเชี่ยวชาญในสาขาทั้งจากการเป็นวิทยากร การทำงานวิจัยจะเปิดโอกาสให้ได้พัฒนาศักยภาพ
    -การที่มีผู้สอนมีความเชขี่ยวชาญครอบคลุมทั้งรายวิชาในคงวามเชี่ยวชาญตามสาขา area of interest อย่างลึกซึ้งจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง
    -การมีระบบการเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงตามสาขาได้มีโอกาสได้สอนในเนื้อหาที่เชี่ยวชาญ และมีโอกาสได้ร่วมติวนักศึกษา จะช่วยสามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญมากขึ้น
    -การมีระบบอาจารย์พี่เลี้ยงที่มีศักยภาพเป็นเเบบ Professional ควรถอยโอกาสของตนเมาเป็นที่ปรึกษา คอยเเนะนำน้องที่มีคุณวุฒิ ป.โท ตรงสาขาได้มีโอกาสสอนและติวเพื่อเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ ทักษะมากขึ้น
    3. กระบวนการจัดการเรียนการสอน ควรเน้นความสำคัญให้มากๆ โดยเฉพาะการสอนภาคปฏิบัติจะเป็นการนำตำราในชีวิตจริงลงมาใช้ในการสอนที่เป็นบทเรียนช่วยใฝห้นักศึกษาได้จดจำและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่ดีที่สุด ฉะนั้น จึงควรเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกฝนประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติให้มาก ๆ มากกกว่าการมาเน้นในตอนปีสุดท้าย และการใช้เวลาในการสอนภาคปฏิบัติควรได้ให้โอกาสนักศึกษาฝึกจริงๆ มิใช่การนำมาเรียนฟังครูบรรยายเพียงเเค่เปลี่ยนสถานทมี่เรียนเท่านั้น

    ... on July กันยายน 8th, 2015
  22. wongduan says:

    เห็นด้วยกับการทำ concept mapping ค่ะ

    ... on July กันยายน 10th, 2015
  23. อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล says:

    1.ควรมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบสภาฯ ทั้งตัวนักศึกษา ผู้สอน และหลักสูตรที่นักศึกษาเรียน
    2. ควรมีการพัฒนาครูทุกภาควิชาให้เป็นนักติวเตอร์ระดับมืออาชีพ
    และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการสอนในระดับสูง

    ... on July กันยายน 10th, 2015
  24. PREEDAWAN says:

    การเตรียมความพร้อมในการสอบฯ
    1.ด้านครูประจำชั้น ปี ๔ รุ่น 21
    - กระตุ้นนักศึกษาในเรื่องการเตรียมตัวในการอ่านหนังสือ
    - สร้างกำลังใจให้แก่นักศึกษา
    - อำนวยความสะดวกในการประสานงาน เช่น การขอใช้ห้องเรียนในการติวกันของนักศึกษา
    - ร่วมวางแผนกับนักศึกษาในการจัดตารางติวของนักศึกษา
    - แนะนำเทคนิคในการอ่านหนังสือ การคลายเครียด
    - เป็นที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษา
    2.อาจารยืทุกท่าน
    - ร่วมสอนทบทวนความรู้ในแก่นักศึกษาในแต่ละรายวิชา
    - ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา เมื่อนักศึกษาขอคำแนะนำ
    - กระตุ้น เน้นย้ำเรื่องการเตรียมความพร้อมในการสอบ และให้กำลังใจแก่นักศึกษา
    - ร่วมวางแผนในการจัดตารางทบทวนความรุ้ให้แก่นักศึกษา ตั้งแต่เริ่มขึ้น ปี 4
    -วิเคราะห์ blue print สภาการพยาบาลเทียบกับเนื้อหาการสอน การสอนในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อาจมีข้อสอบให้นักศึกษาได้ฝึกทำในขณะที่ฝึกภาคปฏิบัติไปด้วย
    ***เห็นด้วยกับ
    -ครูต้องแจ้งผลพัฒนาการของนักศึกษาทุกวัน ปรับกำลังใจให้นักศึกษา มีระบบการสอบ pre-test และ post–test ของแต่ละ ward
    -ทำคู่มือเนื้อหาเพื่อสรุปสาระในการติว main comcept
    -รวบรวมข้อสอบจากนักศึกษาและเพิ่มเติมข้อที่ไม่สมบูรณ์จากเครือข่าย
    -สอนวิธีการและเทคนิคทำข้อสอบ โดยเน้นคำสำคัญ (keyword) ที่โจทย์ถาม

    3.นักศึกษา
    -ควรเริ่มมีการอ่นหนังสือทบทวนความรู้ของตน
    -จัดการสอน โดยเพื่อนติวเพื่อน
    -วางแผนร่วมกับอาจารย์ในการจัดตารางทบทวนความรู้
    -มุ่งมั่น ตั้งใจในการเตรียมความพร้อมของตนเอง

    ... on July กันยายน 11th, 2015
  25. ชมพู่ says:

    สำหรับนักศึกษารุ่นที่21 ได้มีการจัดการให้มีการติวอย่างไม่เป็นทางการโดยอาจารย์อาสาสมัครและครูประจำชั้นได้พยายามอำนวยความสะดวกในการอ่านหนังสือและติวแก่นักศึกษาอย่างเต็มความสามารถ โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการในทุกๆด้าน
    ครูประจำชั้นและนักศึกษาตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะทำให้ได้ สอบสภาผ่านในครั้งแรกค่ะ

    ... on July กันยายน 13th, 2015
  26. wisut nojit says:

    1. กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ
    2. ใช้สื่อออนไลน์ เช่น facebook ห้องเฉพาะระหว่างนักศึกษากับภาควิชา เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

    ... on July กันยายน 14th, 2015
  27. hathairat says:

    นักศึกษาควรวิเคราะห์ตนเองว่าเก่งหรือต้องการความช่วยเหลือด้านใด เพื่อจัดการความต้องการของนักศึกษาให้สอดคล้องกับแผนดำเนินงานของครูค่ะ

    ... on July กันยายน 14th, 2015
  28. Phimphan says:

    การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาทดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนแต่ผลการสอบของบัณฑิตในการสอบทั้งของสถาบันสมทบและสภาการพยาบาลไม่ประสบผลสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้อาจต้องกลับมาทบทวนแล้วว่าการดำเนินการของวิทยาลัยอาจเหมือนเดิมไม่ได้ปรับเปลี่ยนดังนั้นจึงมีข้อเสนอแลกเปลี่ยนดังนี้
    1.เตรียมความพร้อมอาจารย์โดยทบทวนว่าอาจารย์ของทุกภาควิชาที่เกี่ยวข้องมีความเชี่ยวชาญในรายวิชานั้นจริงไหม
    2.ส่งเสริมให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ
    3.ทดสอบหรือประเมินความเชี่ยวชาญเป็นระยะ

    ... on July สิงหาคม 2nd, 2016
  29. Phimphan says:

    4.แหล่งฝึกที่จัดให้กับนักศึกษามีประสบการณ์ที่หลากหลายเพียงพอกับการเรียนรู้ของนักศึกษาหรือไม่
    5.การเตรียมความพร้อมแหล่งฝึกต้องประเมินและปรับเปลี่ยนกรณีที่จำนวนประสบการณ์ไม่เพียงพอกับนักศึกษา

    ... on July สิงหาคม 2nd, 2016
  30. Suphatthra says:

    ควรเตรียมสถานที่พัก รถในการเดินทางไปในแต่ละแหล่งฝึก ให้กับนักศึกษา เพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจผิดใในการติดต่อรถมารับนักศึกษากลับ ความปลอดภัยในการเดินไปฝึกปฏิบัติ

    ... on July สิงหาคม 5th, 2016

Post a Comment