ปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
Model ปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย
This entry was posted on วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 6th, 2022 at 4:46 pm and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
ชมพู่ หลั่งนาค says:
มีการจัดสรรภาระงานและ/หรือช่วงเวลาขึ้นนิเทศภาคปฏิบัติให้มีช่วงเวลาในการทำวิจัยที่เท่าเทียมกัน
อ.สิรภพ โตเสม says:
ปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย ในมุมมองผู้ปฏิบัติ ได้แก่
- การมีผู้ให้คำแนะนำ แนวทางการปฏิบัติของผู้มีประสบการณ์ตลอดการดำเนินการวิจัย ทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นในการดำเนินการ
- ผู้บริหาร ให้การสนับสนุน และให้ความสำคัญแก่นักวิจัย ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นในการดำเนินงาน รวมทั้งเอื้ออำนวยในการดำเนินการ ทั้งบุคลกร สถานที่ (กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ จากหัวหน้าโครงการ อ.ดร.อัจฉราพรรณ)
- การสนับสนุนของฝ่ายงานวิจัย และกรรมการจริยธรรม มีการดำเนินการเป็นรูปธรรม และตอบสนองการดำเนินการที่ชัดเจนขึ้น สร้างความเป็นไปได้ในการขอทำวิจัยและจริยธรรมได้มากขึ้น โดยไม่ทิ้งประเด็นสำคัญ
ปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน
- การจัดสรรแหล่งฝึก ไม่เอื้อต่อการทำวิจัย ตัวอย่างเช่น การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางศัลยกรรม แต่การนิเทศส่วนใหญ่ถูกจัดไปทางอายุรกรรม ไม่ตรงตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทำให้เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างได้ยาก —- ซึ่งหากสามารถพัฒนาได้ การสอบถามความเหมาะสมในการขึ้นนิเทศงานของนักวิจัยได้ จะช่วยให้ความสำเร็จมีสูงขึ้น
atsawadej says:
การวางระบบของงานตั้งแต่การกำหนดวันส่งโครงร่าง การนำเสนอกรรมการ การอนุมัตงบประมาณ การแจ้งให้ผู้วิจัยทราบผลการพิจารณา ต้องมีระบบและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนกว่าที่ผ่านมา
นันตพร ทองเต็ม says:
ปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย
- มีการจัดประชุมอาจารย์เพื่อติดตามการทำวิจัยใน วพบ เป็นระยะค่ะ
- อยากให้จัดนิเทศตามความเชี่ยวชาญเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูล
์๊นันตพร ทองเต็ม says:
1.มีการจัดประชุมออาจารย์เพื่อติดตามงานวิจัยเป็นระยะ
2. มีการจัดการนิเทศตามความเชี่ยวชาญเพื่อความสะดวกในการเก็บข้อมูลค่ะ
Dr. Naruemon Jansook says:
ควรมีการปลูกฝังและสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยให้กับอาจารย์จบใหม่ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัย
dr.chawanon Jansook says:
ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในด้านปัจจัยการสนัลสนุนให้กับนักวิจัย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการดำเนินการวิจัย
ปารวีร์ says:
ปัจจัยที่สำคัญในการผลิตผลงานวิจัย คือ การได้รับการสนับสนุนในการทำวิจัย ทั้งด้านความรู้ การมี ที่ปรึกษาที่ดี การเอื้ออำนวยในเรื่องเวลา
ฐิติมา คาระบุตร says:
- ควรมีการจัดตั้งคลินิกนักวิจัย ให้คำปรึกษาด้านวิจัยในส่วนของโครงร่าง/สถิติ /การตีพิมพ์ เป็นต้น
- มีการวางแผนจัดตารางเพื่อพิจารณา IRB ที่ชัดเจน
ฐิติมา คาระบุตร says:
- ควรมีการจัดตั้งคลินิกนักวิจัย ให้คำปรึกษาด้านวิจัยในส่วนของโครงร่าง/สถิติ /การตีพิมพ์ เป็นต้น
- มีการวางแผนจัดตารางปฏิทินเพื่อพิจารณา IRB ที่ชัดเจน
ดร.นิจวรรณ says:
ปัจจัยที่สำคัญ
1.เวลา ที่เอื้อให้สามารถทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
2. ห้องทำงานที่เป็นส่วนตัว สร้างสมาธิในการทำงาน
อ.ยุทธนา says:
ควรจัดทำงานวิจัยตามความถนัดของผู้วิจัย และควรเปิดกว้างในการจัดทำวิจัย ให้ครอบคลุมทั้งด้านคลินิก และการเรียนการสอน
Dr.Naruemon Jansook says:
ควรมีการปลูกฝังและสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยให้กับอาจารย์ใหม่ทุกคน เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัย
นันตพร ทองเต็ม says:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.การประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของงานวิจัยเป็นระยะ
2.จัดนิเทศตามความเชี่ยวชาญ
ืีืnuntabhorn tongtem says:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย
1. มีการติดตามต่อเนื่องเป็นระยะ
2. แรงจูงใจ
3. จัดนิเทศตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล
Mayuree says:
เมื่อพิจารณาปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัยในวิทยาลัย พบว่า ตัวเราเองเป็นปัจจัยสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ใช้หลัก 3 C คือ โดยการลงมือทำทันที (Conduct) ตั้งอกตั้งใจแบบกัดไม่ปล่อย (Concentrate) และทำอย่างต่อเนื่อง (Continue)
Prakasit says:
ควรมีสิ่งสนับสนุนในองค์ประกอบต่างๆ เกี่บวกับการผลิตผลงานวิจัยจะช่วยทำให้สามารถผลิตวิจัยที่มีคุณภาพได้
อ.สายฝน อำพันกาญจน์ says:
การช่วยเหลือด้านการผลิตผลงานวิจัย
1.มีทีมให้คำปรึกษาแบบกัลยาณมิตรในการเริ่มดำเนินงานวิจัย-จนเสร็จสิ้นและตีพิมม์
2.มีคณะพิจารณาIRB มีแผนงานและรวดเร็ว
3.งบประมานสนับสนุน
4ให้เวลาทำวิจัย
Hathairat Budsayapanpong says:
สิ่งที่ตัวเองทำคือ ทำงานวิจัยในงานประจำ หมายความว่า พยายามออกแบบการจัดการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงานวิจัย ไปพร้อมๆกัน เนื่องจากอาจารย์มีภาระกิจหลากหลายด้าน
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือการขอจริยธรรมวิจัยค่ะ ไม่ทันเวลาที่จะต้องลงward
Sutharat Churos says:
ความพึงพอใจต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำวิจัย ปัญหาความรู้และ
ทักษะในการทำวิจัย เจตคติต่อการทำวิจัย ขาดพี่เลี้ยงในการทำวิจัยและขาดแรงจูงใจ
Sutharat Churos says:
ความพึงพอใจต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำวิจัย ปัญหาความรู้และ
ทักษะในการทำวิจัย เจตคติต่อการทำวิจัย ขาดพี่เลี้ยงในการทำวิจัยและขาดแรงจูงใจในการทำวิจัย
Preedawan says:
Your Comment…
Preedawan says:
การผลิตผลงานวิจัยจะสำเร็จได้นั้น ผู้วิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าได้คิดและทำในสิ่งที่ตนสนใจชื่นชอบและถนัด จะมีความสุขในการทำวิจัย ก็จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้ ทั้งนี้ก็ต้องมองถึงผลลัพธ์ที่จะสามรถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสถาบันอย่างไรด้วยเช่นกัน
Preedawan says:
การผลิตผลงานวิจัยจะสำเร็จได้นั้น ผู้วิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าได้คิดและทำในสิ่งที่ตนสนใจชื่นชอบและถนัด จะมีความสุขในการทำวิจัย ก็จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้ ทั้งนี้ก็ต้องมองถึงผลลัพธ์ที่จะสามรถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสถาบันอย่างไรด้วยเช่นกัน
อ.สายฝน อำพันกาญจน์ says:
มีระบบช่วยเหลือสนับสนุนในการผลิตผลงาน
มีที่ปรึกษา
มีแผน พิจารณา IRB
มีทีมที่เป็นกัลยาณมิตร
มีเงินสนับสนุน
มีเวลาทำผลงาน
อ.สายฝน says:
มีระบบส่งเสริมสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัย
มีที่ปรึกษาและทีมที่เป็นกัลยาณมิตร
มีระบบการขอจริยธรรมวิจัย
มีเงินสนับสนุน
มีวารสารลงตีพิมม์
มีเวลาทำวิจัยสำคัญมาก
Budsakorn says:
การผลิตงานวิจัย ต้องมองถึงปัญหาไม่ว่าจะในที่ทำงานหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่พบว่าเป็นปัญหา หรือปัญหานั้นมีผู้แก้ไขปัญหานั้นๆไปแล้วแต่ก็ยังพบว่าเกิดปัญหาขึ้นไม่ลดลง เราจะต้องมาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น วิธีแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา มีทฤษฎีใดบ้างที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือพบทฤษฎีหรือแนวทางการปฏิบัติในที่มีความน่าเชื่อถือว่าจะมาแก้ปัญหาที่เราพบได้บ้าง จากนั้นต้องผ่านกระบวนการเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาของเราที่พบ เพื่อให้ได้ผลที่ต้องการแก้ปัญหานั้นๆ
Preedawan says:
ความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย มีปัจจัยหลายๆ อย่าง สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ผู้วิจัยเอง ที่ได้ผลิตผลงานวิจัยที่ตนสนใจ ชอบ หรือถนัด และต้องการที่จะทำวิจัยนั้น ทำให้เกิดความสุขในการได้ทำงานวิจัย และส่งผลให้ทำวิจัยออกมาได้สำเร็จ ทั้งนี้ผู้วิจัยต้องมองถึงผลลัพธิ์และประโยชน์ต่อองค์กรด้วยเช่นกัน
Manee says:
ความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย คือ ตัวผู้วิจัยเอง ว่ามีใจพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ เมื่อพร้อม ททท “ ทำ ทัน ที ”
่jaruwan kansri says:
เวลา ความพร้อมของผุ้วิจัย เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นตนเองให้ทำงานวิจัยได้ประสบความสำเร็จ
admin says:
การจัดสรรเวลา การใช้เวลาประชุม อย่างมีคุณภาพ การสั่งานที่ไม่ว็ำซ้อน จะทำให้เหลือเวลาในแต่ละวันมากพอ ที่จะวิเคราะห์ื สังเคราะห์งานในความรับผิดชอบ และลงมือผลิตงานวิจัย
oangrisa says:
การจัดสรรเวลา การใช้เวลาประชุม อย่างมีคุณภาพ การสั่งานที่ไม่ว็ำซ้อน จะทำให้เหลือเวลาในแต่ละวันมากพอ ที่จะวิเคราะห์ื สังเคราะห์งานในความรับผิดชอบ และลงมือผลิตงานวิจัย
SUTHISA says:
ปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัยคือ ตัวผู้วิจัยเอง ว่ามีใจพร้อมที่จะทำหรือไม่ มีที่ปรึกษาที่ดี มีการติดตามผลงานเป็นระยะ การทำในสิ่งที่ตนเองสนใจและถนัด จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
Sasima says:
การมีเวลาให้ทำงานวิจัยอย่างจริงจังและความสะดวกในการเบิกจ่ายงบประมาณ
นภัสสร ยอดทองดี says:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือความตั้งใจของผู้วิจัย และความหวังในการได้รับผลลัพทธ์ ที่ตรงตามความตั้งใจ และลงมือทำสิ่งที่สนใจ
ภัทรวดี ศรีนวล says:
การวิจัยไม่ตอบโจทย์และช่วยแก้ปัญหาได้จริง เป็นสาเหตุให้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำวิจัย
ภัทรวดี ศรีนวล says:
ปัจจัยความสำเร็จต้องมีการตั้งเป้าหมายวางแผนและลงมือทำอย่างจริงจัง
Pattarawadee says:
จัดสรรเวลาและมีcomitmentทำจริง
อ.อรนุช says:
ต้องมีความตั้งใจ มีใจในการทำวิจัย หากมีทัศนคติที่ดีในการทำวิจัย อุปสรรคที่มีอยู่ก็จะลดลง สำเร็จก็จะมา
พิมใจ ทวีพักตร์ says:
ปัจจัยที่จะทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ นอกจากการให้ความสำคัญของเงินทุนแล้วการจัดสรรเวลาก็ค่อนข้างสำคัญ อาจารย์ส่วนใหญ่ภาระงานมากและโครงร่างการวิจัยผ่านยากด้วยค่ะ
Pimjai taweepak says:
ปัจจัยที่จะทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ นอกจากการให้ความสำคัญของเงินทุนแล้วการจัดสรรเวลาก็ค่อนข้างสำคัญ อาจารย์ส่วนใหญ่ภาระงานมากและโครงร่างการวิจัยผ่านยากด้วยค่ะ
Pimjai taweepak says:
ภาระงานอาจารย์มีมากทำให้จัดสรรเวลาในการทำวิจัยได้น้อย
กาญจนาภรณ์ ทีฆะภรณ์ says:
ปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัย
1.ตัวบุคคล ความสนใจในเรื่อง/หัวข้อวิจัยที่ต้องการทำ สนใจทำ การสนับสนุนในการเป็นที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
2.ระยะเวลา การมีเวลาที่เหมาะสมจะทำให้ผู้วิจัยสามารถจัดสรรเวลาในการทำงาน ชีวิตส่วนตัว และการทำวิจัยได้อย่างเหมาะสม โดยไม่กระทบกับการสอน การนิเทศ หรืองานประจำที่ทำอยู่
ขอบคุณค่ะ
Aj.boossaba says:
การผลิตผลงานวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง
1.ตัวผู้วิจัย มีความสนใจ ตั้งใจ มองเห็นปัญหา และประโยชน์ของงานวิจัยที่จะทำ ก็จะก่อให้เกิดความต้องการที่จะผลิตผลงานวิจัย
2. เวลา ในเวลา 24 ชั่วโมง เทียบกับภาระงานที่มี ที่ได้รับมอบหมาย แทบจะไม่มีเวลาเหลือที่จะใช้ในการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นการทำงานวิจัย จึงเกิดขึ้นได้ยาก
3. ผู้บริหาร นโยบาย การให้ความสำคัญกับหัวข้อ แนวโน้ม หรือเรื่องในการทำวิจัยควรเป็นกลาง มองภาพรวม มองความเชี่ยวชาญเนื่องจาก แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน ที่ผ่านมาส่งโครงร่างหรือหัวข้ออะไรไปที่ไม่ใช่ ผู้สูงอายุ ชุมชน หรือการเรียนการสอน ก็จะไม่ได้รับการแจ้งหรือข้อชี้แนะใดๆ ออกมาว่าควรจะไปในทิศทางไหนต่อ
4.ที่ผ่านๆมาเห็นว่า จะทำงานวิจัยได้สำเร็จ ต้องแลกด้วยการ ไม่ขึ้น ward แล้วมานั่งทำวิจัย
5. ควรมีความสมดุลกันในเรื่อง ความสนใจทำวิจัย เวลา ภาระงานประจำ ภาระงานจร(เร่งด่วน)
ดร.พรเจริญ says:
ความรู้เก่าที่เรามองข้าม เอามาฝากทบทวนกันครับ..ทำไม ต้อง .05?
https://portal.edu.chula.ac.th/pub/jrm/index.php/jrm/article/viewFile/232/pdf_190
สุรศักดิ์ อธิคมานนท์ says:
การวิจัยเป็นเรื่องปกติในชีวิต การพัฒนางานวิจัย ต้องอาศัยการสร้าง Passion ในประเด็นหรือเรื่องที่สนใจ
สุรศักดิ์ อธิคมานนท์ says:
การสร้าง Passion ในการวิจัยเป็นเรื่องปกติในชีวิต การพัฒนางานวิจัย ต้องอาศัยการสร้าง Passion ในประเด็นหรือเรื่องที่สนใจ
Phensri says:
ปัจจัยด้านทัศนคติ ต่อการทำวิจัยแตกต่างกัน สามารถผลิตผลงานวิจัยที่แตกต่างกัน
ดวงใจ says:
ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ การทงมือปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา โอกาส และการมีเครือข่าย เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ
atsawadej says:
ควรจัดระบบตั้งแต่เสนอโครงร่างลงวันที่รับ หลังนำเสนอเสร็จโครงร่างเสร็จ ลงวันที่รับปรับแก้ไข
ประกาศว่าได้รับอนุมัติหรือไม่ให้ผู้วิจัยทราบด้วย จะมีงบประมาณให้หรือไม่มีต้องแจ้งให้ผู้วิจัยทราบด้วย
สินาภรณ์ กล่อมยงค์ says:
ระบบการช่วยเอื้อความสะดวกในการทำงานวิจัย ทั้งด้านเวลา การดำเนินงาน ช่องทางการติดต่อประสานงาน
Dr.Parinda says:
ปัจจัยท่สี่งผลต่อการขอทุนวิจัยภายนอกได้แก่ อายุ อายุการทา งาน ระดับการศึกษา และภาระการสอน มคีวามสัมพันธก์บการขอทุนวิจัยภายนอก
-การมีเวทีให้โอกาสได้ไปร่วมทำงานกับเมธีที่เชี่ยวชาญภายนอก ด้านเครือข่ายทมีวิจัย
และท่ปีรึกษาโครงการ
-ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางการวิจัย
-ปัจจัยด้านการสนับสนุนของหน่วยงานและผู้บริหาร
-ปัจจัยด้านเจตคติท่มีีต่อการวิจัย เเละการเเสร้างเเรงจูงใจ เเรงบันดาลใจ
-ปัจจัยด้านภาระงาน ที่มีมากเเละไม่ได้ลดหลั่นตามระดับคุณวุฒิ ทำให้การทำงานมี wนrk load สูง
-ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร เเละการเรียนรู้ร่วม จะส้รางสรรค์การทำงานวิจัย มากขึ้น
อ.ยุทธนา says:
จัดระบบการทำงานวิจัย ตั้งแต่ การดำเนินการวิจัย จน ถึง ตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อทำให้รู้สึกว่าไม่ได้เป็นภาระเพิ่ม และไม่ควรจำกัด theme ในการทำวิจัย ควรจัดตาม academic freedom
่jaruwan says:
มีช่วยเอื้อความสะดวกในการทำงานวิจัย ทั้งด้านเวลา และเป็นภาระงานหนึ่งเทียบเท่ากับภาระการสอน เนื่องจากต้องใช้กำลังกาย กำลังใจและพลังสมองในการคิดผลงาน และควรมีการสนับสนุน ที่ชัดเจน
pattarawadee says:
ขาดการพัฒนาตนเองด้านการทำวิจัยมานาน
Tipawan says:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. มีใจ : เป็นคนที่มีการเรียนรู้ตลอดเวลา สนใจค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาแก้ปัญหาในการทำงาน
2. มั่นใจ : มีความรู้และทักษะด้านการวิจัย และความรู้ในสาขาที่ตนเองเชี่ยวชาญ รู้ลึก รู้จริง มองปัญหาออก
3. ไม่ถอดใจ : มีความมุ่งมั่นพยายาม เป้าหมายชัดเจน
4. ได้ใจ : องค์กรมีระบบและกลไกที่สนับสนุนชัดเจนเป็นรูปธรรม