Transformation Learning: Chainat Authentic Learning Model
This entry was posted on วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 4th, 2022 at 2:32 pm and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
oangrisa says:
1.ควรกำหนดแนวทางวิธีการสอนแบบ CAL ที่ชัดเจนโดยเฉพาะในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล
2.ควรออกแบบเครื่องมือวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของนักเรียนได้ตามสภาพจริง
ดร.นิจวรรณ says:
Chainat Authentic Learning (CAL) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาได้ศึกษาจากสถานการณ์จริงซึ่งเหมาะกับยุคการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิทยาลัยควรกำหนดรายวิชาที่ชัดเจนในแต่ละ ชั้นปีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ มีการเตรียมอาจารย์ผู้สอน มีการวัดและประเมินผลหลังสอนที่วัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน
Tipawan says:
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน CAL Model ควรออกแบบครอบคลุมกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอน กิจกรรมผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตลอดจนการประเมินผล ที่ควรมีกระบวนการประเมินที่หลากหลาย สอดคล้องกับเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์รายวิชา เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและบรรลุตามผลลัพธ์การเรียนรู้
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดจาก CAL Model ควรแสดงถึงอัตลักษณ์ของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่บ่งบอกสมรรถนะความเป็นตัวตนของผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษาได้อย่างชัดเจน
ชมพู่ หลั่งนาค says:
ควรให้มีการออกแบบโมเดลที่ชัดเจนและระบุรายวิชานำร่องในปีการศึกษาที่1และค่อยๆเพิ่มจำนวนราบวิชาที่ใช้cal model ในการจัดการเรียนการสอนในทุกปีการศึกษา
monthathip says:
ร่วมกันออกแบบโมเดลในรายวิชาทางการพยาบาล
monthathip says:
ร่วมกันออกแบบโมเดลในรายวิชาทางการพยาบาลนำร่องในปีแรก
Doungjai says:
1) กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ CAL MODEL ตลอดจนกำหนดวิธีการวัดประเมินผล ในการตอบ CAL ให้ชัดเจน
2) กำหนดรายวิชาในการพัฒนานักศึกษาในแต่ละชั้นปี ควรมีการกระจายให้เกิดความต่อเนื่อง
3) จัดตั้งคณะกรรมการ ในการติดตามประเมินผล และให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ CAL เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4) กำหนดสัปดาห์สัมมนาการจัดการเรียนการสอน ในการพัฒนา CAL ทุกภาคการศึกษา
5) รายงานให้ผู้บริหารรับทราบเพื่อกำหนดเป็น นโยบาย
6) สนับสนุนให้มีการนำเสนอ CAL ในการประชุมวิชาการทั้งใน และนอกสถาบัน
อ.สิรภพ โตเสม says:
การกำหนดจัดการเรียนการสอนรูปแบบ CAL MODEL ที่ชัดเจนในแต่ละรายวิชา จะช่วยส่งเสริมให้มีความเป็นรูปธรรมและต่อยอดได้มากขึ้น เช่นตัวอย่างที่ผ่านมา ที่กำหนดการใช้ EVB ในวิชา ทำให้มีการเรียนรู้ทั้งปัญหาและจุดเด่น ทำให้มีการพัฒนาตต่อยอดได้มากขึ้นเรื่อยๆ
atsawadej says:
วิชาปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวและชุมชน 2 นำเสนอได้เข้าใจ ชัดเจน เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับวิชาภาคปฏิบัติอื่นๆที่ได้มาเรียนรู้การตามสภาพจริง
nuntabhorn tongtem says:
ควรร่วมกันออกแบบ การเรียนการสอนแบบ CAL model เข้าไปในรายวิชาภาคปฏิบัติ
dr.chawanon Jansook says:
ควรมีเครื่องมือวัดประเมินผล output ของ CAL MODEL ที่ชัดเจนและผ่านการหาคุณภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์มาตรฐาน
Dr. Naruemon Jansook says:
ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการนำ CAL MODEL ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ปารวีร์ says:
การจัดการเรียนการสอนสภาพจริงของ วพบ.ชัยนาท ควรกำหนดขั้นบันไดในการพัฒนาแต่ละชั้นปี และกำหนดรายวิชา รวมทั้งวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยทำเป็นคู่มือการสอน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม เพราะของเดิมที่ วพบ.มีอยู่ที่วางไว้ ยังขาดการนำมาสรุปเป็นรูปแบบที่ชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติต่อเนื่อง
ปารวีร์ says:
การจัดการเรียนการสอนสภาพจริงของ วพบ.ชัยนาท ควรกำหนดขั้นบันไดในการพัฒนาแต่ละชั้นปี และกำหนดรายวิชา รวมทั้งวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยทำเป็นคู่มือการสอน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม เพราะของเดิมที่ วพบ.มีอยู่ที่วางไว้ ยังขาดการนำมาสรุปเป็นรูปแบบที่ชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติต่อเนื่อง
Tipawan says:
Your Comment…
อ.ยุทธนา says:
ควรมีการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นตัวอย่างสัก 1 รายวิชา ตั้งแต่ วิธีสอน การจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล โดยมีเครื่องมือที่ชัดเจน
Dr.Naruemon Jansook says:
ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการนำ CAL MODEL มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการใน MODEL
Mayuree says:
สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบ CAL Model อีกประการคือ Self-reflection ของตัวเราเอง จะทำให้เราสามารถแยกแยะความคิด ความจริง ความรู้สึก (ซึ่งอาจเป็นอคติจากความชอบหรือความไม่ชอบ) ได้อย่างชัดเจน หากตัวเราสะท้อนตัวเองได้ชัด เราก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นสภาพจริงให้ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้จากความจริงของสภาพการณ์นั้นๆ ไม่ใช่จากเรียนรู้จากอคติของผู้สอน นอกจากนี้การชี้ให้ผู้เรียนมองเห็นว่าอะไรคือความรู้ ความจริง ความคิดเห็นไม่ว่ามาจากครู ผู้ป่วย/ญาติ เพื่อนร่วมงาน หรือตัวผู้เรียนเองจะทำให้เขาสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมกับบริบทอย่างแท้จริง
ืีืnuntabhorn tongtem says:
ควรนำ CAL model ไปใช้ในการจัดการเรียนสอนในแต่ละชั้นปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1 -4 โดยมีจุดเน้นในแต่ละชั้นปี
ชั้นปี1 Client meaning and Professional meaning
ชั้นปีที่2 Analytical thinking
ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 Practice and Apply
Prakasit says:
หากมีตัวอย่างการนำไปใช้ในรายวิชาแบบเต็มรูปแบบ จะสามารถช่วยให้นำไปต่อยอดในรายวิชาอื่นๆได้อย่างเป็นรูปธรรม
อ.สายฝน อำพันกาญจน์ says:
มีแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ CAL MODEL ตลอดจนกำหนดวิธีการวัดประเมินผล ในการตอบ CAL ให้ชัดเจน
จัดรายวิชาในการพัฒนานักศึกษาในแต่ละชั้นปี ให้เกิดความต่อเนื่อง
จัดตั้งคณะกรรมการ ในการติดตามประเมินผล และให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
มีคณะกรรมการวิพากย์การจัดการเรียนการสอน ในการพัฒนา CAL ทุกภาคการศึกษา
จัดเวทีและส่งเสริมให้มีการนำเสนอ CAL ในการประชุมวิชาการทั้งใน และนอกสถาบัน
Preedawan says:
ควรกำหนดแนวทาง และรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบ CAL MODEL ที่ชัดเจน และเกณฑ์การวัดประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อสามารถนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้หลากหลายมากขึ้น
Hathairat Budsayapanpong says:
วิทยาลัยมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบCAL Model โดย
1.มีนโยบายของวิทยาลัยบโดยท่านผู้อำนวยการฯ
2.ขานรับนโยบายโดยท่านรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ..โดยมีการจัดประชุมเตรียมครู มีผศ.ดร.มารุต พัฒผล มาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ให้กับคณะครูอาจารย์
3.ครูแต่ละคน จัดการเรียนการสอน มีการเตรียมนักเรียนซึ่งแล้วแต่วิธีของอาจารย์แต่ละคน มีการเตรียมแหล่งเรียนรู้ สอนได้ทั้งในคลินิคและชุมชน
ซึ่งวิธีการดำเนินงานขึ้นกับสาขาวิชาออกแบบ โดยอาจใช้ Reflection Dialog Basketing Deep Listening
สาขาวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ นำมาใช้ในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ และรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์1และ2 โดยให้นักศึกษารวบรวมข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว(Deep Listening โดยBasketingและReflection)นำมาบันทึกและคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ นำข้อมูลที่ได้คิดพิจารณาเปรียบเทียบกับทฤษฎีการตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดที่เรียนมา และออกแบบแผนการพยาบาลตามปัญหาและสาเหตุที่นักศึกษารวบรวมข้อมูลได้ จากนั้นนำแผนการพยาบาลพูดคุยกับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวถึงแนวทางปฏิบัติว่าเป็นไปตามที่นักศึกษาเขียนมาหรือไม่ คนไข้สามารถปฏิบัติได้ไหมติดขัดเรื่องอะไรซึ่งหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สุดท้ายเข้าใจปัญหาของตนเองเลือกแนวทางปฏิบัติที่ตนเองยินดีเลือกปฏิบัติ ปัญหาจึงได้รับการแก้ไข
ผลที่ตามมาจากการให้การพยาบาลในรูปแบบนี้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวบอกว่าชอบที่จนท.(พยาบาลที่ตึก อาจารย์พยาบาลและนักศึกษา)รับฟังข้อมูลของเขาและวางแผนการดูแลโดยมาถามความคิดเห็นเขา เขารู้สึกดีมาก หมอให้เกียรติเขา และความไม่สุขสบายของเขาได้รับการแก้ไขด้วยตัวเขาเองได้
ด้านนักศึกษาบอกรู้สึกดี มองตาคนท้องและครอบครัวรับรู้ได้ว่าเขาrespectนักศึกษามากขึ้น ซื้อขนมมาฝากนศ.และจนท. แต่นักศึกษาบอกว่าใช้เวลามากและต้องใช้พลังความคิดมาก ต้องพบอาจารย์บ่อยเพราะไม่คุ้นเคยกับการต้องวิเคราะห์ข้อมูล การรับฟังข้อมูลจากคนไข้
ดังนั้นบทเรียนสำหรับการจัดการเรียนการสอนCAL Modelคือครูต้องเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน พยายามฝึกให้นักศึกษามีDeep Listening แบบBasketingได้คิดกับข้อมูลที่รวบรวมมาบ่อยๆ จึงมีความจำเป็นต้องออกแบบเส้นทางของการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมเพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา
Sutharat Churos says:
ควรออกแบบการสอนในรายวิชาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ครูต้องเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน และมีแบบประเมินที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน
Preedawan says:
มีการจัดอบรมเพื่อทบทวนความรู้ให้กัคณาจารย์เป็นสิ่งที่ดี และควร
กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน CAL MODEL ที่ชัดเจน และการวัดประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อให้สามรถนำไปในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้หลากหลายขึ้น
อ.สายฝน says:
มีรูปแบบที่ชัดเจน และเข้าใจตรงกันมีรายวิชาที่สอนต่อเนื่องทุกชั้นปี
รวมทั้งสามารถใช้ในวิชาภาคปฏิบัติได้
มีระบบการประเมินผลที่ชัดเจน
Budsakorn says:
การเรียนรูเพื่อการเปลี่ยนแปลงในการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตรมีสองตัวอยางคือ 1) การสรางนวตกรรมในการพยาบาลเพราะเนนการเรียนจากประสบการณจริงของนักศึกษามีการสังเกตคิดใครครวญมีจินตนาการเพื่อการแกปญหาใหผูปวย 2 ) โครงการจิตอาสาบริจาคเสียงเพื่อใหผูพิการทางสายตาไดเรียนหนังสือโดยการฟงและจินตนาการจากหนังสือเสียงที่ผูอานตองอานอยางตั้งใจพรอมคําอธิบายอยางชัดเจนนักศึกษาทั้งสองกลุมมีการเรียนรูที่เกิดขึ้นภายในตัวผูเรียนมีการสะทอนคิดดานจิตใจในการใหความชวยเหลือเพื่อนมนุษยดานอารมณที่มีความสุขความคิดใครครวญและความรูจากการทํางานเปนทีม (ละเอียด แจ่มจันทร์ และคณะ, 2557)
ฐิติมา คาระบุตร says:
มีการร่วมกำหนดรูปแบบที่ชัดเจน การนำไปใช้ที่เป็นรูปธรรม มีการวัดผลที่ชัดเจน
Preedawan says:
มีการจัดอบรมทบทวนความรู้ให้แก่คณาจารย์เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ ได้รับความรู้เพิ่มเติม และควรกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ CAL Model ที่ชัดเจน และมีการวัดประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อให้สามรถนำไปใช้ในการแออกแบบรายวิชาได้หลากหลายขึ้น
AJ.boossaba says:
การจัดการเรียนการสอน CAL Model ในแต่ละรายวิชา มีการปรับใช้ในบริบทของความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ หากแต่การจำแนกออกมาเป็นแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบการเรียนการสอน การปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผล ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน หากมีตัวอย่าง หรือ Model ต้นแบบ จะทำให้มองภาพได้ชัด และนำมาสู่การจัดการเรียนการสอนเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
Manee says:
เห็นด้วยกับ อ.บุษบา ถ้าเราวางแผนร่วมกันก่อนเปิดปีการศึกษาใหม่ เพื่อ 1.กำหนดรายวิชาที่สอน โดยใช้ CAL Model และรายวิชานั้นออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดการประเมินผล ที่มีความสอดคล้องและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 2.กำหนดรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อบูรณาการด้านการบริการวิชาการ การวิจัย ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การจัดการเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
่jaruwan kansri says:
ควรมีรูปแบบที่ชัดเจนและมีตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน เพื่อจะเดินไปในแนวเดียวกัน การอธิบายหรือถ่ายทอด ผู้ถ่ายทอดควรชัดเจนและเชื่อมั่นใจวิธีการจัดการเรียนการสอนของตนเอง ว่าใช้ CAL Model
SUTHISA says:
ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการนำ CAL MODEL มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยแต่ละชั้นปีมีการกำหนดรายวิชา กำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอนและจัดทำเป็นคู่มือแจกอาจารย์ทุกท่านทราบ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่เหมือนกัน
Sasima says:
การบริหารจัดการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปีในแต่ละวิชาให้ชัดเจนเพื่อเป็นต้นแบบ ครบทุกชั้นปี
นภัสสร ยอดทองดี says:
รูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน และวิธีการจัดการเรียนที่เป็นรูปธรรม มีคู่มือพร้อมการประเมินผล
นภัสสร ยอดทองดี says:
Your Comment…
นภัสสร ยอดทองดี says:
รูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน ในรายวิชา และวิธีการจัดการเรียนที่เป็นรูปธรรม มีคู่มือพร้อมการประเมินผล
ภัทรวดี ศรีนวล says:
ยังขาดความชัดเจนและแนวทางการดำเนินงานในการจัดการเรียนการสอนทึ่ไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู่กันมากขึ้น
Pattarawadee says:
MODEL ควรมีความชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน
อรนุช says:
ควรมีการออกแบบการเรียนการสอน cal modelที่ครอบคลุมทั้งการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลที่สอดคล้องในรายวิชา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการและผลลัพธ์สู่วิชาอื่น
กาญจนาภรณ์ ทีฆะภรณ์ says:
Transformation Learning: Chainat Authentic Learning Model
ในการนำ CAL MODEL มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ความเหมาะสมทั้งความต้องการของผู้เรียน การเลือกรายวิชา และวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้อาจารย์ทุกคนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในแนวทางเดียวกัน
พิมใจ says:
CAL model ในการจัดการเรียนการสอนในหอผู้ป่วย หรือการฝึกภาคปฏิบัติค่อยข้างเข้าใจยาก ทั้งในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผล คิดว่าหากเรานำมาใช้สอนต้องมีการวางแผนตั้งแต่การวิเคราะห์ LO กิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมของอาจารย์ น่าจะทำให้มีประโยชน์และง่ายต่อการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น
Phensri says:
Chainat Authentic Learning (CAL) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการออกแบบกำหนดรายวิชา ที่มีเป้าหมายชัดเจน และเป็นลำดับต่อเนื่อง
สินาภรณ์ กล่อมยงค์ says:
ควรมีการกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับ CAL ที่ต้องการให้แต่ละชั้นปี
Dr.Parinda says:
ปัจจัยเเห่งความสำเร็จ
1.การประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะและทักษะอื่นๆที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะทางการพยาบาล ต้องวิเคราะห์เป้าหมายให้ชัดเจนในเเต่ละปี
2. การออกเเบบกระบวนการหลักของ Transformative Learning ที่ต้องเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน นำสู่การชี้เเจงทำความเข้าใจกลุ่มอาจารย์ผู้นำไปใช้ให้ชัดเจนตรงกัน
3.การเลือกจัดกลวิธีในการส่งเสรมการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน นอกชั้นเรียนเเละในคลินิก ต้องมีความเชื่อมโยงนำสู่การบูรณณาการที่ชัดเจน
4. การใช้เทคนิคการทบทวนผลการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสะท้อนคิด (Reflective)
5. การประเมินผลที่สะท้อนพัฒนาการของนักศึกษามตามเป้ามหายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เป็นระบบ ต่อเนื่อง
Tipawan says:
อยากเห็นการพัฒนาทักษะ CAL Model ในผู้สอน เช่น Deep listening Reflection, Dialog, Basketing, Caring, Respect เป็นต้น เพราะทักษะเหล่านี้จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สอนก่อนที่จะนำไปใช้ในห้องเรียน หากผู้เรียนยังไม่สามารถสัมผัสได้ในฐานะที่ผู้เรียนเปรียบเสมือนผู้รับบริการ ว่าครูพร้อมที่จะรับฟังอย่างเข้าใจ understandingไม่ตัดสินจากภายนอกหรือเฉพาะสิ่งที่ได้ยิน มีความเอื้ออาทร ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายอย่างเข้าใจ… ครูคงต้อง reflect ตัวเองอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา เริ่มต้นที่ตัวเรา