การพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
การพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่
This entry was posted on วันพุธ, เมษายน 28th, 2021 at 4:07 am and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
พิมใจ says:
จากการประชุมการนำเสนอโครงร่างวิจัย ในปีที่ผ่านๆมาก โครงร่างผ่านยาก เลยทำให้ มีคนอยากทำน้อย หมดกำลังใจในการแก้ไขงาน
dr.Naruemon Jansook says:
ควรมีการจัดอาจารย์พี่เลี้ยงในการเขียนโครงร่างการวิจัยให้กับอาจารย์ที่จบใหม่เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยให้กับอาจารย์
dr.Naruemon Jansook says:
ควรมีการจัดอาจารย์พี่เลี้ยงในการเขียนโครงร่างการวิจัยให้กับอาจารย์ที่จบใหม่เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านวิจัยให้กับอาจารย์
dr.chawanon Jansook says:
ควรมีการจัดประชุมเพื่อเขียนโครงร่างวิจัยแบบร่มใหญ่อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยให้กับคณาจารย์ของวิทยาลัย
ดร.พรเจริญ บัวพุ่ม says:
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย… พบว่า สมการความถดถอยโลจิสติคของตัวแปรพยากรณ์พฤติกรรมการทำวิจัยของอาจารย์ เป็นดังนี้คือ
W = 4.008 + 0.12*อายุงาน – 0.22*การดำรงตำแหน่งบริหาร – 0.392*ปัญหา ความรู้และทักษะในการทำวิจัย + 0.09*เจตคติต่อการทำวิจัย + 0.801*ความพึงพอใจต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำวิจัย
ดวงใจ says:
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประโยชน์ ผู้เข้าร่วมการจัดการควรรู้จะมีมุมมองด้านการวิจัยที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากความรู้เดิมที่มีอยู่
ปารวีร์ says:
จากการเข้าร่วม KM ได้ประโยชน์ ในเรื่องการจัดทําตารางปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่สนใจศึกษา และ การทำตารางวิเคราะห์แนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบในการทําวิจัย เป็นวิธีการที่ทำให้เราได้อ่านงานวิจัย และเก็บบันทึกเป้นระบบ
sasima says:
การแลกเปลี่ยนความรู้มประโยชน์มากคะได้พัฒนาทักษะการทำวิจัยจากที่เคยทำมาในรูปแบบการวิจัยชนิดต่างๆ จากความถนัดเดิมๆของผู้วิจัย เช่น เรียนรู้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และหลักการทบทวนงานวิจัย
อาจารย์ชมพู่ หลั่งนาค says:
การแชร์ประสบการณ์และให้คำแนะนำอย่างกัลญาณมิตรจะช่วยในการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยเพิ่มเติม
อาจารย์ชมพู่ หลั่งนาค says:
การแชร์ประสบการณ์และให้คำแนะนำอย่างกัลญาณมิตรจะช่วยในการพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามควรมีการทำตารางสรุปทั้งหมดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
อ.สิรภพ โตเสม says:
การประชุมเสนอโครงร่างในรอบที่ผ่าน มีประโยชน์ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง อยากให้มีกิจกรรมนี้ต่อไป
ส่วนกำหนดการส่งภายหลังได้รับคำแนะนำ มีระยะเวลาสั้นเกินไป ไม่สามารถรีวิวเพื่อทำให้แล้วเสร็จตามคำแนะนำได้
Prakasit says:
ช่วยให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัยและนำไปใช้ประโยชน์
atsawadej says:
ควรจัดเวที่นำเสนอโครงร่างวิจัยและการวิพากษ์แบบสร้างสรรค์ ส่งเสริมเติมเต็มเพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนางานวิจัยของวิทยาลัย มิใช่เป็นเวทีแบบสอบป้องกันวิทยานิพนธ์นักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีและแรงจูงใจให้กับผู้ร่วมเข้าฟัง
นภัสสร says:
เราได้ประโยชน์ด้านความรู้และแนวทางในการพัฒนาผลงานวิจัย ของเราจากการพัฒนาโครงร่าง ในหลายครั้ง แต่มักดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามเวลา ซึ่งเราควรผลักดันให้เกิดการลงมือทำให้สำเร็จเป็นรายงานการวิจัยสักเรื่อง น่าจะช่วยทำให้เราได้ทักษะและลดอุปสรรคเรื่องความยุ่งยากของงานวิจัยได้ค่ะ
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
มีระบบการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีเวทีการนำเสนอโครงร่าง ให้ข้อเสนอแนะ หลังการนำเสนอปรับแก้แล้ว ควรแจ้งข้อสรุปและมีทีมให้คำปรึกษาในการทำวิจัยอย่างกัลยาณมิตร จะเป็นการช่วยพัฒนานักวิจัยให้ทำงานวิจัยสำเร็จ
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
มีการจัดระบบการนำเสนอโครงร่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีการให้ข้อเสนอแนะเพื่อพ้ัฒนาและควรสรุปผลแจ้งหลังปรับแก้โครงร่างเรียบร้อย
ควรมีที่ปรึกษางานวิจัยเพื่อช่วยพัฒนานักวิจัยให้ทำวิจัยได้สำเร็จ
อ.ยุทธนา says:
การมีเวทีนำเสนองานวิจัยเป็นการพัฒนางานที่ดี มีการช่วยชี้แนะแนวทางในการทำงานวิจัย แต่อยากให้คำนึงถึงชื่อเรื่อง และการดำเนินการงานวิจัยให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี
oangrisa says:
การจัดกิจกรรมนี้ช่วยสร้างความรู้ความเข ้าใจในกระบวนการเขียนโครงร่างวิจัยในการเสนอรับทุน และยกระระดับคุณงานวิจัยของวิทยาลัย
ให ้มีมาตรฐาน ทำให้ได ้ทบทวน ตรวจสอบ และเรียบเรียง แผนดำาเนินงานของการวิจัยให ้ถูกต ้องเหมาะสมก่อนน าเสนอ ทำให้ผู้วิจัย สามารถติดตามและประเมินผลการด าเนินงานในแต่ละขั้นตอน และเป็นตัวแทนสื่อสารเนื้อหาสาระของการวิจัยนั้นไปสู่ผู้อื่น และเป็นการแสดงความรู้ความชำนาญของผู้วิจัย ในเรื่องนั้นๆ
Manee says:
การแลกเปลี่ยนความรู้มีประโยชน์มาก Feedback จากทีมวิพากษ์ทำให้เกิดมุมมองการศึกษาวิจัยมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่ามีการจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาด้านการวิจัยจะทำให้วิจัยที่ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Theeratsada says:
ได้ประโยชน์ด้านความรู้ในการทำวิจัย และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำวิจัย
ืีืnuntabhorn says:
การจัดให้มีการนำเสนอโครงร่างวิจัยที่ผ่านมา ทำให้รู้สึกมีแรงผลัก แรงกระตุ้นในการทำวิจัยค่ะ ได้ฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการและการนำเสนอโครงร่างของอาจารย์ทุกท่าน ทำให้เข้าใจง่ายมากกว่านั่งฟังบรรยายหลายๆรอบ โดยเฉพาะ โครงร่างวิจัยที่ระเบียบวิจัยคล้ายๆกันก็จะสนใจเป็นพิเศษ ถ้ามีการแบ่งกลุ่มย่อยคนที่ทำวิจัยประเภทเดียวกัน มาแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม อาจทำให้รู้สึกมีเพื่อนช่วยคิดและเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ
ดร.นิจวรรณ says:
มีระบบและกไกการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการติดตามจูงใจในการทำผลงานวิจัยตีพิมพ์
Pattanan says:
การจัดกิจกรรมนี้ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เห็นถึงการดำเนินงานและแนวทางในการพัฒนางานวิจัยมากขึ้น
Oranoot says:
ควรสนับสนุนให้บุคลาการเริ่มทำวิจัยที่ไม่ซับซ้อนมากในช่วงแรก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจต่อไป
ฐิติมา คาระบุตร says:
จากการเข้าร่วม KM การพัฒนาโครงร่างวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ที่ผ่านมา มีประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในงานของตนเองอย่างมาก และมีการพัฒนาระบบกลไกของงานวิจัยที่ดียิ่งขึ้น เข้าถึงระบบได้มากขึ้น ช่วยเสริมแรงในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเป็นอย่างมากค่ะ
ปรีดาวรรณ says:
มีการจัดการประชุมเสนอโครงร่างวิจัย เพื่อกระตุ้นบุคลากรให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัย และมีส่วนร่วมนำเสนอโครงร่างวิจัย ไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน และได้รับข้อเสนอแนะในการปรับแก้งานวิจัยที่ชัดเจนขึ้น เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ ค่ะ
Preedawan says:
มีการจัดการประชุมเสนอโครงร่างวิจัย เพื่อกระตุ้นบุคลากรให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัย และมีส่วนร่วมนำเสนอโครงร่างวิจัย ไม่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน และได้รับข้อเสนอแนะในการปรับแก้งานวิจัยที่ชัดเจนขึ้น เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ ค่ะ
Preedawan says:
ขอแก้ไขข้อความค่ะ
*** ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ค่ะ
Hathairat Budsayapanpong says:
ควรมีแผนการดำเนินงานวิจัยที่ชัดเจนโดยมีระยะห่างพอสมควรเพื่อให้อาจารย์มีเวลาเขียนงานตามแผน เพื่อได้งานวิจัยตามกำหนด
Hathairat Budsayapanpong says:
ควรวางแผนงานเพื่อกระตุ้นงานวิจัยแต่ละช่วงเป็นระยะ และมีที่ปรึกษางานวิจัยอย่างเป็นระบบและชัดเจน
่Jaruwan says:
เปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ และการดำเนินการโครงการวิจัย และได้รับประสบการณ์ในการอ่านและวิพากษ์โครงการวิจัย ในอีกมุมหนึ่งได้รับควาามรู้จากมุมมองของกรรมการและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงโครงร่างวิจัยของตนเองให้สมยูรณ์ยิ่งขึ้น
จารุวรรณ ก้านศรี says:
เปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ และการดำเนินการโครงการวิจัย และได้รับประสบการณ์ในการอ่านและวิพากษ์โครงการวิจัย ในอีกมุมหนึ่งได้รับควาามรู้จากมุมมองของกรรมการและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงโครงร่างวิจัยของตนเองให้สมยูรณ์ยิ่งขึ้น
Dr.Parinda S says:
การพัฒนาโครงร่างวิจัยนำสู่การเฝตีพิมพ์เผยเเพร่ มีปัจจัยที่สนับสนุน ดังนี้
1. คุณภาพของโครงร่างวิจัย ที่ต้องสะท้อนการสร้างและหรือการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในประเด็นที่ต้องการศึกษา ตามระดับของช่องว่างความรู้ที่ผู้วิจัยได้คาดหวังในการค้นหาคำตอบ บนพื้นฐานมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถสะท้อนหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสับสนุนแนวทางในการค้นหาคำตอบ จำเป็นที่ผู้วิจัยต้องให้ความสำคัญของการสืบค้นที่เป็นระบบ ประกอบการมีทักษะการคิดในรูปแบบต่างๆที่ช่วยเสริมการเชื่อมโยงอย่างมีเหตุผล
2. ความสามารถในการเรียบเรียงความสามารถในการเรียบเรียงเพื่อนำเสนอสาระสำคัญของการศึกษาในโครงการวิจัยซึ่งต้องอาศัยทักษะการเขียนเชิงวิชาการโดยคำนึงถึงจรรยาบรรณของการดำเนินการวิจัยและการระมัดระวังการคัดลอกผลงานวิจัย plagiarism
3. การกำหนดเป้าหมายและค้นหาเแหล่งตีพิมพ์ จำเป็นที่ ที่จะต้องทำการษาข้อมูลของแต่ละฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับโครลการวิจัยที่ค้องการเผยเเพร่ เเล้วทำการศึกษาขอบเขตที่จะตีพิมพ์เผยเเพร่ตามรูปแบบของเเหล่งตีพิมพ์เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนผลงานที่สอดคล้อง เเละเอื้ออำนวยต่อการได้รับโอกาสในการเผยเเพร่ในภายหลัง
4. การสร้างระบบเเละกลไกที่สนับสนุนเเรงบันดาลในในการเขียนเเบะการให้เวลาวนการได้พัฒนาผลงานเพื่อการเผยเเพร่อย่างเป็นระบบ
Dr.Parinda S says:
-ควรพัฒนาคุณภาพของโครงร่างวิจียให้มีองค์ความรู้ที่มีความทันสมัย โดยวิจัยจะต้องทำการพัฒนาเเละสร้างองค์ความรู้ในการหาคำตอบตามระดับช่องว่างของชั้นความรู้ (gap) ซึ่งต้องอาศัยการทบทวนวรรณกรรมที่สะท้อนหลักฐานเชิงเหตุผล
-ควรเสนอขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์เพื่อแระกอบการพิจารณาได้รับโอกาสตีพิมพ์เผยเเพร่
-ความเลือกฐานข้อมูลที่จะเผยเเพร่ที่สอดคล้องกับขอบเขตความสนใจของงานวิจัยที่ดำเนินการ
Dr.Parinda S says:
พีฒนาโครงการวิจัย
ควรพัฒนาคุณภาพของโครงร่างวิจียให้มีองค์ความรู้ที่มีความทันสมัย โดยวิจัยจะต้องทำการพัฒนาเเละสร้างองค์ความรู้ในการหาคำตอบตามระดับช่องว่างของชั้นความรู้ (gap) ซึ่งต้องอาศัยการทบทวนวรรณกรรมที่สะท้อนหลักฐานเชิงเหตุผล
-ควรเสนอขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์เพื่อแระกอบการพิจารณาได้รับโอกาสตีพิมพ์เผยเเพร่
-ความเลือกฐานข้อมูลที่จะเผยเเพร่ที่สอดคล้องกับขอบเขตความสนใจของงานวิจัยที่ดำเนินการ
Kanjanaphorn says:
การจัดประชุมนำเสนอโครงร่างวิจัยช่วยทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัย ถ้ามีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำวิจัย ในกลุ่มคนที่่สนใจประเด็นเดียวกันก็จะทำให้การทำวิจัยมีความน่าสนใจ ซึ่งอาจจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนก่อน เพราะบางทีการทำเรื่องที่ซับซ้อนโดยที่ยังไม่มีความเข้าใจอย่างชัดเจน เวลามีการวิพากษ์หรือให้ข้อเสนอแนะ ก็อาจทำให้ไม่เกิดความเข้าใจและไม่อยากสานต่องานชิ้นนั้นได้ ร่วมกับมีที่ปรึกษาที่สนใจในประเด็นเดียวกัน จะเป็นการเสริมแรงในการทำวิจัยมากขึ้นค่ะ
SUTHISA says:
การมีเวทีนำเสนองานวิจัยเป็นการพัฒนางานที่ดี เป็นการชี้แนะแนวทางในการทำงานวิจัย แต่อยากให้คำนึงเรื่อง โครงร่างวิจัยผ่านยากมากทำให้มีคนส่งโครงร่างน้อย
Mayuree says:
การพัฒนาระบบโครงร่างวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ควรใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือแลกกันอ่าน เนื่องจากอาจารย์ในวิทยาลัยฯล้วนเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านแตกต่างกัน การอ่านงานของเพื่อนและมีเพื่อนอ่านงานของเราจะเปิดโอกาสให้เราได้เห็นมุมมองที่ต่างออกไป และเปิดโอกาสให้ตัวเราเองได้เปิดใจ (Open mind) ในการยอมรับและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันโดยไม่แตกแยกได้เป็นอย่างดี
AJCHARAPAN says:
นำปัญหามาพัฒนาองค์ความรู้ผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อแก้ปัญหา
ทิพวรรณ says:
ความคาดหวังหลังจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรมีการสรุปประเด็นและสาระสำคัญที่นำมาเผยแพร่ หรือเพื่อพัฒนาให้เป็นแนวปฏิบัติ ให้สามารถเข้าถึงได้จึงจะเกิดการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
Dr.Parinda says:
การพัฒนาโครงร่างวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ โดยเฉพาะการขอทุนสนับสนุนจากภายนอก ต้องมักระบวนการสนับสนุนที่ชัดเจน มีการเลือกกำหนดภาระการทำงานด้านการสอนเเละการวิจัย ที่สามารถชดเชย สลับให้เอื้อต่อการทำงาน รวมทั้งควรมีเวที่ที่ให้โอกาสอาจารย์ได้ทำงานร่วมกับบุคคลภายนอกโดยไม่มีขีดจำกัดเรื่องขอบเขตที่เเน่ชัด หรือเปิดโอกาสให้ทำงานเเละเลกผลงานได้ อย่างเท่าเทียมกัน
Tipawan says:
ควรจัดระบบและกลไกที่เอื้อต่อการพัฒนาโครงร่างการวิจัยอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม