KM ฝ่ายวิชาการ
OSCE ModelOSCE Model ฝ่ายวิชาการ
This entry was posted on วันศุกร์, สิงหาคม 4th, 2017 at 8:07 am and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
Oangrisa Pinitchan says:
ภายหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญา ควรจัดเวทีให้มีการนำเสนอผลการจัดการเรียนการสอน สัก ๑ วัน เพือ่ให้คณาจารย์ ได้มีโอกาสเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน
อัศวเดช สละอวยพร says:
มีวิชานำร่องในแต่ละชั้นปีเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานต่อยอดในชั้นต่อๆไปในระดับที่สูงขึ้น นศ. จะได้มีความรู้ ทักษะ เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้ปผ่านประสบการณ์มาก่อน
phimphan says:
ควรมีการสรุปรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนที่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้และระบุแนวทางการวัดผลลัพธ์ที่ต้องการให้ชัดเจนเพื่อนำมาสรุปภายหลังการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้อะไรบ้าง
ดร.นฤมล จันทร์สุข says:
ควรมีการนำผลงานของนักศึกษาแต่ละชั้นปีซึ่งเกิดจากการจัดการเรียนโดยใช้ภูมิปัญญามาจัดแสดงร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและต่อยอดในการพัฒนา
นภัทร เตี๋ยอนุกูล says:
ควรมีการสรุปผลการเรียนการสอนโดยนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ และ ควรมีการแลกเปลี่ยมความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ระหว่างการจัดการเรียนการสอนและสิ้นสุดการเรียนการสอน
วิสุทธิ์ โนจิตต์ says:
ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาไปใช้ในการเรียนการสอน ในประเด็น 1-การออกแบบการเรียนการสอน 2-การเตรียมครู 3-เครื่องมือที่ใช้วัด 4-ผลลัพธ์จากการเรียน 5-การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้สอน และ 6-แนวทางการพัฒนา
นภัสสร ยอดทองดี says:
ควรมีความยากง่าย ในแต่ละชั้นปี ที่ชัดเจน เพื่อนำภูมิปัญญามาประยุต์ใช้ในการเรียนการสอน และพิจารณาชิ้นงานด้านภูมิปัญญาในแต่ละชั้นปีให้เหมาะสมกับเวลาเรียน
ภัทรวดี ศรีนวล says:
ในแต่ละปีการศึกษาควรมีการสรุปผลการเรียนการสอนที่นำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้และคัดเลือกเป็นผลงานที่โดดเด่นมาพัฒนาให้เป็นเอกลักษณ์ของวิทยาลัยที่เข้มแข็งต่อไป
nitjawan says:
ควรมีการสรุปผลการเรียนการสอนโดยนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ และเพิ่มจำนวนรายวิชาให้มากขึ้น
ดร.ชวนนท์ จันทร์สุข says:
ควรมีจัด “ตลาดนัดภูมิปัญญา” โดยนักศึกษาทุกชั้นปีนำผลงานที่เกิดจากการใช้ภูมิปัญญา มาจัดแสดงและมีการประกวดให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ
หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ says:
ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับการบริการวิชาการแก่สังคม มีการจัดประชุมอสม.เพื่อทำAICให้ได้ปัญหาความต้องการของชุมชนในเรื่องการดูแลมารดาและทารก จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์ จัดอันดับความสำคัญของปัญหามาร่วมกันวางแผนดำเนินการแก้ไข โดยอสม.วิเคราะห์ตนเองว่าขาดความรู้ในการดูแลคนท้องและหญิงหลังคลอด อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ และนักศึกษาชั้นปีที่3จึงร่วมกันให้ความรู้ ฝึกการตรวจท้อง ดูแลหญิงหลังคลอดกับหุ่น แล้วจัดทีมลงไปติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในชุมชน หลังจากนั้นมาพูดคุยกันถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นซึ่งการประเมินผลดำเนินการตามสภาพจริง พบว่าอสม.และนักศึกษามีความมั่นใจในการดูแลมารดาและทารกมากขึ้น บางครอบครัวอสม.พบว่ามีภูมิปัญญาในการดูแลทารกแรกเกิดและหญิงหลังคลอดเช่นการอบสมุนไพรในหญิงหลังคลอด การป้องกันทารกสูญเสียความร้อนโดยให้ทารกนอนอู่ เป็นต้น ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์พบว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ดี
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
ทุกภาควิชาควรมีการนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีการจัดเวที่นำเสนอในวิทยาลัยและมีการทำวิจัยต่อยอดพร้อมนำเสนอในเวที่ทุกระดับ
วงเดือน เล็กสง่า says:
เมื่อนำภูมิปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนควรทำวิจัยเพื่อติดตามประเมินผลการนำภูมิปัญญามาใช้อย่างระบบ เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นแนวปฎิบัติที่ดี
Sasima says:
แต่ละภาคมีการดำเนินการได้ดีควรนำผลมาสรุปผลและขยายผลการจัดการเรียนการสอน
หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ says:
test
Wongduan says:
ควรมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นรูปธรรมและมีการทำวิจัยติดตามอย่างต่อเนื่อง
Dr.parinda says:
ควรจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มอาจารย์เพื่อนำเสนอเเนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการเรียนการสอนที่ใช้ภูมิแัญญาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เ เละควรมีเวทีนำเสนอนวัตกรรมการใช้ภูมิปัญญาของนักศึกษาประจำปี เพื่อใแ้เกิดเเบบอย่างการพัฒนาแและต่อยอดทางความคิด รวมทั้งมีเเรงจูงใจในการจัดประกวด เเละหาเวทีนำเสนอภายนอกสถาบัน
อ.บุษบา says:
-ควรจัดหาอาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงตาสาขาในการสอนนักศึกษาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในการพัฒนาความคิดของนักศึกษาในการเลือกใช้ภูมิปัญญาที่หลากหลายด้าน เเละมะระบบการเกื้อกูลเเละยอมรับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ที่ตรงการสาขาในการสนับสนุนความคิดของนักศึกษาาในการพัฒนาภูมิปัญญาตามประเด็นที่นักศึกษาสนใจ
-
ชมพู่ หลั่งนาค says:
ขอเสนอว่าก่อนจัดการศึกษาในแต่ละปีควรให้มีการประชุมแล้ววางแผนร่วมกันว่ามีนโยบายพัฒนาเด็กไปในทิศทางไหนแล้วมอบหมายงานเป็นรายวิชาที่ไม่ซ้ำกันเพื่อให้ไม่โหลดงานเด็กมากเกินไปและไม่ซ้ำซ้อนค่ะ
อ.ยุทธนา นุ่นละออง says:
ทุกรายวิชาควรนำภูมิปัญญาที่ได้จากการวิจัยหรือการพัฒนาของอาจารย์ในวิทยาลัย มาใช้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ใช้ภูมิปัญญาไทยในการเรียนการสอน
Dr.Parinda says:
Your Comment…
อ.ปารวีร์ มั่นฟัก says:
ควรมีการนำเสนอผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญา ในระดับชั้นปี ของนักศึกษา และแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ เพื่อประเมินการวัดผลลัพธ์ รวมถึง ปัญหาและอุปสรรค ที่จะเกิดขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นของวิทยาลัยร่วมกัน
ปารวีร์ says:
การจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน2 และวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอครัวและชุมชน2 ได้ส่งเสริมให้นักศึกษานำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพชุมขน สิ่งที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนคือมุมมองหรือการทำความเข้าใจกับคำว่า. ภูมิปัญญาท้องถิ่นคืออะไร. ส่วนใหญ่มักจะนึกถึง สมุนไพร รางไม้ กะลา ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งคำว่าภูมิปัญญานั้นอาจเป็นผลผลิตที่ออกมาในรูปแบบกระบวนการ หรือวิธีการ หรืออะไรก็ได้ที่เกิดจากการพัฒนา การเรียนรู้ที่ใช้หรือเกิดขึ้นในการจัดการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงคิดว่าการเตรียมผู้สอนให้เข้าใจต่อคำว่าภูมิปัญญาเป็นสิ่งสำคัญ ผู้สอนอาจต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญาประเภทอื่นๆร่วมด้วยเพื่อนำไปเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาต่อไป
ฐิติมา คาระบุตร says:
มีการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามรายวิชาที่ความเหมาะสม
สินาภรณ์ กล่อมยงค์ says:
เน้นยำให้นักศึกษาให้การพยาบาลโดยคำนึงถึงภูมิปัญญาของผู้รับบริการให้การพยาบาลแบบองค์รวม
ปารวีร์ says:
จากประสบการณ์สอนวิขาปฏิบัติการการพยาบาลครอบครัวและชุมชน2 เห็นว่า การสนับสนุนให้นักศึกษานำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ สิ่งสำคัญคือครูผู้สอนโดยผู้สอนต้องมีมุมมองต่อคำว่าภูมิปัญญาไม่ใช่เฉพาะสมุนไพร รางไม้หรือ กะลา. แต่มีประเภทอื่นๆอีกเช่น ภมิปัญญาด้านการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเปิดมุมมองนี้ให้เกิดขึ้นกับนักศึกษา สิ่งสำคัญผู้สอนต้องเรียนรู้และทำการศึกษามาก่อนเพื่อใข้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้นศ.ต่อไป
นันตพร says:
ภายหลังสิ้นสุดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน นำเสนอเรื่องการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนและ ให้อาจารย์ นศทุกคน ได้มีส่วนร่วม ช่วยกันเสนอแนะ ชี้แนะ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงในการเรียนการสอนต่อไป และเป็นการกระตุ้นความคิดเกิดไอเดียใหม่ๆกับ นศ คิดหาภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่หลากหลาย เพิ่มมากขึ้น ให้เข้ากับยุคปัจจุบัน Thailand 4.0
สิรภพ โตเสม says:
ควรร่วมวิเคราะห์ปัญหาถึงความยากง่าย และลำดับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวิชา โดยเลือกนำวิชาที่นักศึกษารู้สึกว่าเป็นปัญหา มาร่วมวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงและมีความสามารถในการเลือกข้อมูลที่เรียนรู้มาวิเคราะห์ได้ดีขึ้น
Kanyaphat says:
- ใน แต่ละชั้นปีควรมีวิชาหลักที่เน้น เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานต่อยอดในชั้นต่อๆไป เช่นก่อนขึ้นหวอด ควรเน้นทักษะการคำนวนตัวเลข Pathoต่างๆ
-ควรจัดหาอาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรงในการสอนนักศึกษาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในการพัฒนาความคิดของนักศึกษาในการเลือกใช้ภูมิปัญญาที่หลากหลาย
ปรีดาวรรณ says:
การจัดการเรียนการสอนที่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษานำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในชีวิตกระจำวัน และการดูแลสุขภาพของผู้อื่นได้ ควรจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การคิดค้นนวตกรรมด้านภูมิปัญญาไทยได้
Kanjananat says:
วางแผนจัดการเรียนการสอนให้เกิดสมรรถนะตามลำดับชั้นปีในการใช้ภููมิปัญญาในการดูแลผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน และมีแบบประเมินที่วัดมีความน่าเชื่อถือ เพื่อเกิดการพัฒนาต่อยอดให้เกิดสมรรถนะตามที่ต้องการ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีคุณภาพในการบริการ
Phensri Rodprom says:
ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาเพื่อหาแนวทางที่จะพัฒนาให้มีระสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Prakasit says:
ควรพัฒนาต่อยอด และเพิ่มเติมเนื้อหาภูมิปัญญาที่หลากหลายและนำไปใช้ได้จริง
Mayuree says:
หากมีการนำผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนที่นำภูมิปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มาเป็นแนวทางพัฒนาในปีการศึกษาใหม่อย่างเป็นรูปธรรมจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น
Monthathip says:
ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Somsong Maneerod says:
ควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสอนโดยใช้ภูมิปัญญาในการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษาละ 2 ครั้งและสรุปผลเมื่อสิ้นปีการศึกษา เพื่อขยายผลต่อยอดในปีการศึกษาต่อไป
DOUNGJAI says:
การนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้อาจารย์มีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ SAP WE ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจผู้รับบริการมากขึ้นว่าผู้รับบริการมีความรู้ ความเชื่อในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวอย่างไร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะทำให้พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้ชัดเจนมากขึ้น
อ.ยุทธนา นุ่นละออง says:
ทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมสนับสนุนในการนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ ไม่ใช่ฝ่ายวิชการเพียงอย่างเดียว ควรบูรณาการทุกส่วนในวิทยาลัยฯ
pimjai taweepak says:
มีความคิดเห็นเหมือนอาจารย์หลายๆท่านนะคะว่าหลังจากการจัดการเรียนการสอนแล้วเราควรมีเวทีนำเสนอ ผลการนำภูมิปัญญาไปใช้ให้ทุกฝ่ายในองค์กรได้เห็นว่าในวิทยาลัยของเราได้ทำอะไรไปถึงไหนแล้ว รวมมีน่าจะมีการประกวดผลงานของนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ด้วยนะคะ
manee says:
เห็นด้วยกับ ดร.วิสุทธิ์ ว่าควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาไปใช้ในการเรียนการสอน ในทั้ง 6 ประเด็น เพื่อนำผลการดำเนินในปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูล/แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ SAP WE ในปีการศึกษา 2560
Jaruwan Kansri says:
วิชาการสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพ ได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยการดึงเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ในการให้ น.ศ.ชั้นปี 2 ค้นหาปัญหาและใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการนำภูมิปัญญามาใช้ในการสอนทางสุขภาพแก่ นร.วัดส่องคบ พบว่า มีปัญหาตรงที่ นศ.ที่จะสอนชั้นอนุบาล ยังไม่มั่นใจในการนำภูมิปัญญามาใช้ในการสอนทางสุขภาพเท่าที่ควร แต่จะพัฒนาและให้ความรู้ต่อไป เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของวพบ.ชัยนาท
suphatthra says:
ควรให้นักศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาเข้ามามีส่วนในการเรียนการสอน การให้การพยาบาลกับประชาชน
Krujar says:
การนำ SAP WE มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทำให้อาจารย์และ ผู้เรียนเข้าใจผู้รับบริการมากขึ้นว่าผู้รับบริการมีความรู้ ความเชื่อในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวอย่างไร จากประสบการณ์ น.ศ.บางท่านยังไม่เข้าใจใน คำว่า…. ภูมิปัญญา… มักมองเพียงสมุนไพร ดังนั้นการชี้แนะ ทำความเข้าใจ เรื่องภูมิปัญญา แก่ น.ศ. จึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนได้ชัดเจนมากขึ้น ผู้เรียน เข้าใจมากขึ้น
SUTHISA says:
ควรวางแนวทางการประเมินผลการการนำภูมิปัญญาไปใช้ในการเรียนการสอนที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา อาจจัดตลาดนัดความรู้เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา/ปีการศึกษา เพื่อให้ทุกชั้นปีแสดงผลการศึกษาความรู้หรือการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติในรายวิชา เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพี่กับน้องอย่างเป็นรูปธรรม
กาญจนาภรณ์ ทีฆะภรณ์ says:
ควรให้ทุกวิชามีการนำความรู้เกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาไปบูรณาการและหลังเสร็จสิ้นการจัดการเรียนการสอน ควรมีการประชุมเพื่อทำการสรุปผลการใช้ภูมิปัญญาในการเรียนการสอนวิชานั้นๆ
อรนุช นุ่นละออง says:
ทุกรายวิชาควรนำภูมิปัญญาด้านต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดนวัตกรรม และซึมซับในตัวนักศึกษาของเรา
อ.ทิพวรรณ ตั้งวงศ์กิจ says:
การนำภูมิปัญญามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบ OSCE model มีพัฒนาการอย่างมีทิศทางมากขึ้น แต่ควรมีการศึกษาวิจัยวัดประสิทธิผล และวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนควบคู่กันไป นอกจากนี้อาจมีการถอดบทเรียน เพื่อนำมาพัฒนาระบบอาจารย์พี่เลี้ยงในการจัดการเรียนการสอนด้วยแนวทางนี้ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม
สุรศักดิ์ says:
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาไปใช้ในการเรียนการสอน สิ่งสำคัญควรมีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
1 การออกแบบการจัดการเรียนการสอน
2 การเตรียมครูผู้สอน
3 กระบวนการจัดการเรียนการสอน
4 เครื่องมือที่ใช้วัด
5 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเรียน
ุ6 การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้สอนตลอดจนปัญหาอุปสรรค
7 แนวทางการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป
casa says:
bellissimo post