KM : ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
This entry was posted on วันศุกร์, มีนาคม 10th, 2017 at 3:44 am and is filed under ฝ่ายวิจัยและบริการวิชการ. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
นภัทร เตี๋ยอนุกูล says:
ควรมีแผนการส่งเสริมและกำกับอาจารย์ ทุกคนในการทำวิจัย และมีเวที นำเสนอผลงานวิจัย ทุกปี
นภัทร เตี๋ยอนุกูล says:
ควรมีแผนการส่งเสริมและกำกับอาจารย์ ทุกคนในการทำวิจัย และมีเวที นำเสนอผลงานวิจัย ทุกปี โดยเชิญวิทยากรจากวช. มาวิพากย์ผลงานวิจัย
วิสุทธิ์ โนจิตต์ says:
ควรมีการนำเอาผลงานวิจัยที่อาจารย์ หรือนักศึกษาทำในแต่ละปี รวมทั้งผลงานวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่เคยทำ ไม่จำเป็นต้องจบใหม่ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ื และพัฒนาต่อยอด
phimphan says:
การวางแผนการทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิชาการที่ได้ดำเนินการมีทั้งระยะสั้นและระยะยาวแต่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายควรมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรคที่ทำให้ไปเป็นไปตามเป้าเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
ภัทรวดี ศรีนวล says:
ควรมีแผนการส่งเสริมอาจารย์ ทุกคนในการทำวิจัย และจัดอาจารย์พี่เลี้ยงในการทำวิจัยให้กับอาจารย์ที่สนใจทำวิจัยแต่ขาดความเชี่ยวชาญ
หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ says:
งานวิจัยเป็นอีกภารกิจหนึ่งของอาจารย์ที่ช่วยเสริมความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ควรนับเป็นภาระงานอย่างหนึ่งด้วยเพราะหากขึ้นwardเท่ากันทุกคน อาจารย์คงไม่สามารถจัดทำงานวิจัยที่มีคุณภาพได้
วงเดือน เล็กสง่า says:
ควรจัดให้มีเวทีนำเสนอผลการทำวิจัยของอาจารย์เพื่อเป็นสอนทางอ้อมให้กับอาจารย์คนอื่นๆ จุดประกายความอยากทำ เสริมด้วยบรรยากาศแห่งความเป็นกัลยาณมิตรของคนในองค์กร
wongduan says:
ควรจัดให้มีเวทีนำเสนอผลการทำวิจัยของอาจารย์ เป็นการสอนทางอ้อมให้กับอาจารย์ท่านอื่นๆ พร้อมทั้งเสริมบรรยากาศแห่งการมีกัลยาณมิตรของคนในองค์กรเรา
ชมพู่ หลั่งนาค says:
ควรกระจายโอกาสให้ได้ทำวิจัยและนำเสนอวิจัยตามความต้องการของอาจารย์แต่ละท่านอย่างทั่วถึง
อ.บุษา says:
ควรมีระบบการสนุบสนุนการผลิตผลงานวิจัยในการช้ภูมิปัญญาที่ชัดเจน เเละมีเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานที่ได้สร้างสรรค์ หรือทีช่องทางเผยเเพร่ผลงานที่เข้าถึงอย่างเป็นรูปธรรม
Dr.Parinda says:
ควรมีการพัฒนาภูมิปัญญาในสาขาความเชี่ยวชาญของตนเองที่เฉพาะเจาะจง เเละควรมีเผยเเพร่ผลงานที่ได้จัดทำให้อาจารย์ในวิทยาลัยได้เข้าถึงเเละเกิดการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ชัดเจนรวมทั้งการดำเนินการวิจัยควรคำนึงถึงจริยธรรมของนักวิจัยทีควรพึงมีต่อกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมด้วย
-ควรมีระบบการพิทักษ์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของ วิทยาลัยที่เป็ยรูปธรรมเเละปฏิบัติจริง
อ.บุษบา says:
ควรมรเวทีเเลกเปลี่ยนการสร้างผลงานวิจัยของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง
Dr.Parinda says:
-ควรมีการจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเเละเข้าถึงผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้ใช้ภูมิปัญญาในหลากหลายมิติ เพื่อได้เกิดความเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพ. เเละควรเชิญบุคคลภายนอกที่มีความเกิดข้องในศาสตร์ความรู้มาร่วมเเลกเปลี่ยนให้ความเห็นต่อการสร้างผลงานวิจัย
-ควรมีการทำงานวิจัยที่ใช้ภูมิปัญญาในสาขาความเชี่ยวชาญของตนเองที่เฉพาะเจาะจง เเละสอดคล้องตรงตามเเผนงานของพัฒนาศักยภาพของเเต่ละบุคคล
-ควรมีระบบการพิทักษณ์สิทธิ์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของวิทยาลัยที่เป็นรูปธรรม เเละเกิดการปฏิบัติจริง
Dr.parinda says:
-ควรมีการกำหนดเดผนงานการพัฒนาผลงานวิจัยที่ชัดเจน เ้ละระบุชื่อเรื่องที่ได้จัดทำเพื่อการวางเเผนกระจายความซ้ำซ้อนการทำวิจัยในกลุ่มนักศึกษาเเละผู้รับบริการ
-ควรมีการจัดเวทีเเลกเปลี่ยนเเละเข้าถึงผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้ใช้ภูมิปัญญาในหลากหลายมิติ เพื่อได้เกิดความเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพ. เเละควรเชิญบุคคลภายนอกที่มีความเกิดข้องในศาสตร์ความรู้มาร่วมเเลกเปลี่ยนให้ความเห็นต่อการสร้างผลงานวิจัย
-ควรมีการทำงานวิจัยที่ใช้ภูมิปัญญาในสาขาความเชี่ยวชาญของตนเองที่เฉพาะเจาะจง เเละสอดคล้องตรงตามเเผนงานของพัฒนาศักยภาพของเเต่ละบุคคล
-ควรมีระบบการพิทักษณ์สิทธิ์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของวิทยาลัยที่เป็นรูปธรรม เเละเกิดการปฏิบัติจริง
อ.บุษบา says:
ควรมีการประเมินระบบเเละกลไกอย่างต่อเนื่อฃที่ให้เกิดความชัดเจนในการสร้างเป็นเเนวปฏิบัติที่ดีต่อไป
อ.ยุทธนา นุ่นละออง says:
ควรมีการทำวิจัยในแหล่งฝึก เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างแหล่งฝึก และสถาบันการศึกษา อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลายๆด้าน
อ.ปารวีร์ มั่นฟัก says:
ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัยจากผลงานของอาจารย์ภายในวิทยาลัย เพื่อเป็นการสร้างแรงผลักดันในการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านภูมิปัญญา ในการดูแลสุขภาพ
นภัสสร ยอดทองดี says:
การวางแผนผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย ด้านภูมิปัญญา เป็นส่วนหนึ่งตามนโยบายของวิทยาลัย ฉะนั้นในการลงมือทำอาจต้องสอดคล้องกับความถนัดของอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ในเครือข่ายระดับ จังหวัด ระดับประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทาง โอกาส และแรงผลักดันในการผลิตวิจัยด้านนี้
ฐิติมา คาระบุตร says:
ควรมีการสนับสนุนและช่วยเหลือการทำวิจัยกับอ.น้องๆค่ะ
สินาภรณ์ กล่อมยงค์ says:
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับเรื่องที่สนใจ
อ.ปารวีร์ มั่นฟัก says:
ควรเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้รับการสร้างแรงผลักดันในการผลิตวิจัย ด้านภุมิปัญญา โดยการเข้าร่วมทีมกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และเรียนรุ้ด้วยการลงมือทำ ร่วมถึงการไปนำเสนอผลงานควรเริ่มจากง่ายไปยาก
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
มีการจัดหาที่ปรึกษาในการจัดทำผลงานวิจัยและตีพิมพ์รวมทั้งมีเวทีที่วิทยาลัยในการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอและควรมีที่ปรึกษาในการนำเสนอในระดับชาติหรือในระดับนานาชาติ
ดร.ชวนนท์ จันทร์สุข says:
การเสริมพลังอำนาจให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัยด้านภูมิปัญญาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งควรทำให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ดร.นฤมล จันทร์สุข says:
ควรมีการจัดสรรเวลาให้อาจารย์ได้ผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านภูมิปัญญาที่มีคุณภาพ
Kanyaphat says:
-มีการหาแนวทางร่วมกัน ในการหาแนวทางการพัฒนางานวิจัยของเรา จัดสรรเวลาหลังจากอาจารย์ที่ต้ิองขึ้นนิเทศอยู่บนหวอดกับนศ.ทั้งวัน เมื่อหมดช่วงหวอดช่วยกันหาแนวทางสนับสนุน ร่วมกันทำวิจัย
- ชี้แจงแนวทางการเบิกจ่าย เงินการทำโครงการ การทำวิจัย และมีฝ่ายช่วยดำเนินการ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่อาจารย์
สิรภพ โตเสม says:
มีการอธิบายโอกาสให้ได้ทำวิจัยและนำเสนอวิจัยทั่วถึง มีแนวทางการส่งเสริมที่ชัดเจน
ปารวีร์ says:
การทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องมีช่วงเวลาที่สามารถทำให้ไปศึกษาค้นคว้าได้ การสนับสนุนเรื่องเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญรวมทั้งสนับสนุนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับป.เอก ให้เป็นพี่เลี้ยง สอน แนะนำ น่าจะทำให้สามารถผลิตผลงานวิจัยได้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร
Oangrisa Pinitchan says:
การไปตีพิมพ์วารสารวิชาการระดับนานาชาติพิจารณาเฉพาะวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ว่าด้วย “เกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๖” เช่นในฐานข้อมูล Web of Science หรือฐานข้อมูล Scopus เป็นต้น ทั้งนี้วารสารนั้นต้องไม่มีชื่ออยู่ใน Beall’s List of Predatory, Open –Access Publishers
ปรีดาวรรณ says:
อยากมีโอกาสได้ร่วมทำวิจัย โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงที่สอนด้านวิจัย เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ด้านการทำวิจัยให้กับอาจารย์น้องๆ ค่ะ ^_^
nitjawan says:
ควรมีการจัดสรรเวลาให้อาจารย์ได้ผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านภูมิปัญญาที่มีคุณภาพ และจัดบุคลากรให้การสนับสนุนในการทำงานวิจัย
Kanjananat says:
ควรมีสิ่งสนับสนุนทุกด้านให้สามารถผลิตผลงาน เช่น เวลา และทรัพยากร อบรมตาม training need จัดหาเวที และการติดต่อวารสารตีพิมพ์
อัศวเดช สละอวยพร says:
ควรมีช่วงเวลาจัดสรรที่แน่นอนให้กับอาจารย์ทุกคนเพื่อทำวิจัยสัก 1-2 สัปดาห์ เพื่อใ้ห้มีช่วงเวลาได้มาเคลียงงานวิจัยหรือได้ทำวิจัยที่แน่นอน เพราะบางครั้งภาระงานมีมาก โดยเฉพาะ ครูประจำชั้น
Phensri Rodprom says:
ฝ่ายวิจัยมีการช่วยเหลือ กระตุ้นการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่ควรเพิ่มแนวทางสนับสนุนการทำวิจัยที่จะช่วยให้ิาจารย์สามารถผลิตผลงานวิจัยได้มากขึ้น เช่น เวลาในการทำวิจัย เป็นต้น
Prakasit says:
จัดสิ่งสนับสนุนการจัดทำวิจัย เวลา สถานที่ ระบบสารสนเทศ จัดระบบพี่เลี้ยงตามคุณวุฒิ
Mayuree says:
ควรจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานวิจัยในองค์กรของเราเป็นประจำต่อเนื่อง เช่น เดือนละครั้ง เพื่อให้เกิดการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกิดแนวคิดใหม่ๆในการทำวิจัย ซึ่งเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศวิชาการ (Academic circumstance) ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัยในองค์กร ทั้งนี้ยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้อาจารย์น้องๆรุ่นใหม่ในองค์กรเห็นเป็นแบบอย่างและมีส่วนร่วมในการทำวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานวิชาการต่อไป
Monthathip says:
จัดสรรเวลาในการจัดทำผลงานวิจัย
Somsong Maneerod says:
ควรมีการจัดสรรเวลาเพื่อให้อาจารย์ได้มีโอกาสในการศึกษาวิจัยและควรจัดเวทีแลกเปลี่ยน เป็นการผลักดันให้เกิดองค์กรที่มีความเข้มแข็งทางด้านวิจัย
DOUNGJAI says:
การเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านภูมิปัญญาไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้อาจารย์สนใจ และเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้ในกระบวนการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทย ทำให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนของการสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาที่ใช้งานวิจัยเป็นฐานในการพัฒนามากยิ่งขึ้น
อ.ยุทธนา นุ่นละออง says:
ควรมีแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบาย thailand 4.0
manee says:
ควรจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ/วิจัยในองค์กร โดยกำหนด 2 ครั้ง/ปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศวิชาการ มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอในเวทีวิชาการต่างๆ
pimjai taweepak says:
ในการจัดโครงการที่พัฒนาด้านการวิจัย อยากให้จัดในช่วงที่มีอาจารย์อยู่ในวิทยาลัยให้มากที่สุด เพราะ หากจัดช่วงที่ีออกนิเทศต่างจังหวัด จะทำให้บางครั้งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ หรือถ้ามาเข้าประชุมได้ก็ไม่มีสมาธิเต็มที่เพราะห่วงนักศึกษาที่ฝึกงานอยู่ต่างจังหวัด ในส่วนของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวิจัย น่าจะมีการจัดในวิทยาลัยก่อนเพื่อเป็นการซ้อมก่อนออกไปนำเสนอจริงในเวทีนอกสถาบัน
Sasima says:
ควรมีแผนงานการนำเสนอวิจัยในที่ต่างๆตลอดทั้งปีและดำเนิการขับเครื่องวิจัยที่ใช้ภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ
Jaruwan Kansri says:
งานวิจัยเป็นอีกภารกิจหนึ่งของอาจารย์ที่ช่วยเสริมความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ควรนับเป็นภาระงาน เพราะจำเป็นต้องใช้สมองและใช้เวลาทุ่มเทอย่างมากในการผลิดผลงาน
suphatthra says:
ครมีประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการนำเสนองานวิจัย หรือ trend เกี่ยวกับการทำงานวิจัย
นันตพร says:
ควรมีแผนการส่งเสริมและกำกับอาจารย์ ทุกคนในการทำวิจัย และมีเวที นำเสนอผลงานวิจัย
Krujar says:
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การผลิตผลงานวิจัยโดยใช้ภูมิปัญญา เป็ฯสิ่งที่ดีมาก และควรมีการบูรณาการกับพันธกิจสำคัญของวิทยาลัย เช่น การเรียนการสอน การบริการวิชาการ พร้อมกันไป เพื่อจะได้ไม่ต้องทำหลายครั้ง
SUTHISA says:
ควรจัดอบรมเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยใช้ภูมิปัญญา โดยอาจารย์ที่ทำวิจัยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์ท่านอื่นๆ มองเห็นภาพต่อยอดความคิดในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ
กาญจนาภรณ์ ทีฆะภรณ์ says:
ในการบริการวิชาการควรมีกิจกรรมที่เน้นในเรื่องการนำภูมิปัญญาไทย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปเผยแพร่ในทุกครั้งที่จัดออกไปบริการวิชาการ หรือควรมีการบูรณาการการบริการวิชาการกับในรายวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
อรนุช นุ่นละออง says:
จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้่ในงานวิจัยที่อาจารย์ หรือนักศึกษาทำในแต่ละปี มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ื และพัฒนาต่อไป
สุรศักดิ์ says:
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลงานวิจัยที่อาจารย์ หรือนักศึกษาทำในแต่ละปี รวมทั้งผลงานวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่เคยทำ มาแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดความรู้เชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง เป็นการทบทวนความรู้ื และพัฒนาต่อยอด
อ.ทิพวรรณ ตั้งวงศ์กิจ says:
งานวิจัยควรทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงเกี่ยวกับ ระเบียบวิธีการวิจัย โดยจัดเป็นเวทีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาโครงร่างการวิจัยที่มีคุณภาพ เนื่องจากอาจารย์บางคนอาจมีแนวคิด หรือปัญหาการวิจัย แต่ยังขาดความรู้และประสบการณ์ด้านระเบียบวิธีการวิจัย ถ้าได้ผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกาาที่เป็นประโยชน์ก็จะสามารถทำวิจัยได้อย่างมั่นใจมากขึ้น