ข้อควรรู้ก่อนเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก
model การเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก
This entry was posted on วันอังคาร, มีนาคม 19th, 2024 at 6:52 am and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
Oangrisa Pinitchan says:
หน่วยงานควรต้องให้ความ
ช่วยเหลือแก่นักวิจัยที่ได้รับทุนภายนอก โดยสนับสนุนการใช้
ทรัพยากรของหน่วยงาน เช่น อุปกรณ์เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัย นักวิเคราะห์สถิติ ผู้ช่วยเก็บข้อมูลการวิจัย ผู้ช่วยด้านการจัดการเอกสารเบิกจ่ายงบวิจัย ฯลฯ
K.Budsakorn says:
การขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุน
ภายนอกประกอบไปด้วยแนวปฏิบัติที่ถอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการงานวิจัยจากคณะกรรมการผู้มีประสบการณ์ด้าน
การวิจัย โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่แรงบันดาลใจในการตระหนักถึงการทำวิจัย การเริ่มต้นโจทย์วิจัย วิธีการในการเขียน
โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพของผู้เสนอขอทุนวิจัย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับทุนวิจัย
Pattarawadee says:
นักศึกษาในศตวรรศที่ ๒๑ จะเป็นต้องนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก จึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะ ในการเรียนรู้ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง(Transformative Learning) มีความเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและมีสมรรถนะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เกิดทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership) การมีทักษะความเป็นผู้นำการเริ่มจากการนำตนเองไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมดีงามตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนไปถึงในระดับกระบวนทัศน์ เมื่อเรามีความรู้ในแบบ Transformative Learning เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ในหลายมิติอย่างแท้จริง
Prakasit says:
การเลือกหัวข้อในการขอทุน ควรเลือกหัวข้อเรื่องวิจัยที่อยู่ในกระแสสังคม สามารถบูรณาการความรู้จากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน
Hathairat Budsayapanpong says:
การเขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก ผู้จะขอทุนต้องศึกษาข้อสำคัญหรือประเด็นของทุนภายนอกที่ต้องการขอทุน เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญเรื่องแรกไม่อย่างนั้นจะไม่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุน นอกจากนั้นผู้จะขอทุนต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดของเจ้าของทุนว่าผู้ขอรับทุนจะยินดีรับเงื่อนไขที่กำหนดได้หรือไม่ และอีกประเด็นหนึงที่สำคัญเช่นกันคือเงื่อนไขของทุนต้องสอดคล้องกะประเด็นความสนใจหรือความเชี่ยวชาญของอาจารย์เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยอย่างมีความสุข และสำเร็จตามกำหนดได้
K.Budsakorn says:
เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพือให้ได้ทุนนันมีความสําคัญอย่างยิงในการได้มาซึงทุนในการ
พัฒนาและสนับสนุนงานวิจัย ดังนันผู ้วิจัยจะต้องเขียนโครงร่างการวิจัยทีเย้ายวนใจคนอ่าน อ่านแล้วมี
ความรู ้สึกว่างานวิจัยน่าสนใจ ทําแล้วเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือต่อผู ้ให้ทุนโดยตรง และผู ้ให้ทุนเห็นว่าควร
ให้การสนับสนุนทุนเพือท าการวิจัย ดังนันผู ้จัดท าข้อเสนอโครงการวิจัยจึงควรจัดทําด้วยความประณีต มีเหตุผล
ทีเหมาะสม เพือให้ได้รับทุนสนับสนุนการทําวิจัย โดยข้อเสนอโครงการวิจัยทีดีควรประกอบด้วย
1.
จัดทําข้อเสนอตามแบบฟอร์มทีแหล่งทุนกําหนด
2.
ชือเรืองหรือหัวข้อเสนอโครงการวิจัย ต้องเป็นหัวข้อทีน่าสนใจ ชือเรืองจะสะท้อนจุดเน้นของงานวิจัยชัดเจน
ระบุคําสําคัญในชือเรือง โดยจัดเรียงคําสําคัญทีสุดมาก่อน ใช้ชือเรืองทีสันแต่ได้ใจความชัดเจน
3. ผู ้วิจัย/คณะผู ้ทําวิจัย ความสามารถของผู ้วิจัย ประวัติของหัวหน้าโครงการจะสําคัญมาก ในการเสนอโครงการวิจัย
4. ทีมาและความสําคัญของการวิจัย ระบุประเด็นสำคัญของการทําวิจัยทีแสดงเหตุผลของการศึกษาวิจัยโดยมีการ
ทบทวนอ้างอิงวรรณกรรมทีเกียวข้องและเป็นปัจจุบัน
5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์กับหัวข้อการวิจัยต้องมีความสอดคล้องกัน
6. กรอบแนวคิดในการวิจัย ควรสร้างกรอบแนวคิดทีทันสมัยซึงคาดว่าจะได้ผลผลิตงานวิจัยทีเกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถนําไปใช้ในการเผยแพร่และนําไปใช้ได้อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม
7. ขอบเขตการวิจัยและงบประมาณทีขอรับการสนับสนุน
8. ระเบียบวิธีการวิจัย ระบุระเบียบวิธีการวิจัยแบบย่อทีสามารถทําให้ผู ้พิจารณาทุนทราบและเข้าใจในขันตอนการ
วิจัยแสดงถึงวิธีการดําเนินการวิจัย
9. แผนการดําเนินงาน เป็นแบบละเอียด มีขันตอนการดําเนินงานทีเหมาะสม ชัดเจน มีคําอธิบายประกอบแผนการ
ดําเนินงาน
10. จัดทําเอกสารข้อเสนอการวิจัยให้ทางการ
Budsakorn says:
เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพือให้ได้ทุนนันมีความสําคัญอย่างยิงในการได้มาซึงทุนในการ
พัฒนาและสนับสนุนงานวิจัย ดังนันผู ้วิจัยจะต้องเขียนโครงร่างการวิจัยทีเย้ายวนใจคนอ่าน อ่านแล้วมี
ความรู ้สึกว่างานวิจัยน่าสนใจ ทําแล้วเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือต่อผู ้ให้ทุนโดยตรง และผู ้ให้ทุนเห็นว่าควร
ให้การสนับสนุนทุนเพือท าการวิจัย ดังนันผู ้จัดท าข้อเสนอโครงการวิจัยจึงควรจัดทําด้วยความประณีต มีเหตุผล
ทีเหมาะสม เพือให้ได้รับทุนสนับสนุนการทําวิจัย โดยข้อเสนอโครงการวิจัยทีดีควรประกอบด้วย
1.
จัดทําข้อเสนอตามแบบฟอร์มทีแหล่งทุนกําหนด
2.
ชือเรืองหรือหัวข้อเสนอโครงการวิจัย ต้องเป็นหัวข้อทีน่าสนใจ ชือเรืองจะสะท้อนจุดเน้นของงานวิจัยชัดเจน
ระบุคําสําคัญในชือเรือง โดยจัดเรียงคําสําคัญทีสุดมาก่อน ใช้ชือเรืองทีสันแต่ได้ใจความชัดเจน
3. ผู ้วิจัย/คณะผู ้ทําวิจัย ความสามารถของผู ้วิจัย ประวัติของหัวหน้าโครงการจะสําคัญมาก ในการเสนอโครงการวิจัย
4. ทีมาและความสําคัญของการวิจัย ระบุประเด็นสำคัญของการทําวิจัยทีแสดงเหตุผลของการศึกษาวิจัยโดยมีการ
ทบทวนอ้างอิงวรรณกรรมทีเกียวข้องและเป็นปัจจุบัน
5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์กับหัวข้อการวิจัยต้องมีความสอดคล้องกัน
6. กรอบแนวคิดในการวิจัย ควรสร้างกรอบแนวคิดทีทันสมัยซึงคาดว่าจะได้ผลผลิตงานวิจัยทีเกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถนําไปใช้ในการเผยแพร่และนําไปใช้ได้อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม
7. ขอบเขตการวิจัยและงบประมาณทีขอรับการสนับสนุน
8. ระเบียบวิธีการวิจัย ระบุระเบียบวิธีการวิจัยแบบย่อทีสามารถทําให้ผู ้พิจารณาทุนทราบและเข้าใจในขันตอนการ
วิจัยแสดงถึงวิธีการดําเนินการวิจัย
9. แผนการดําเนินงาน เป็นแบบละเอียด มีขันตอนการดําเนินงานทีเหมาะสม ชัดเจน มีคําอธิบายประกอบแผนการ
ดําเนินงาน
10. จัดทําเอกสารข้อเสนอการวิจัยให้ทางการ
Dr. Naruemon says:
สิ่งแรกที่นักวิจัยต้องมี คือแรงบันดาลใจ ต่อจากนั้นก็หาแหล่งทุนวิจัยภายนอก ศึกษาประกาศ ข้อกําหนดช่วงเวลาที่กําหนดส่งข้อเสนอ รูปแบบการเขียนและแบบฟอร์มในการเสนอขอทุนตามที่แหล่งทุนวิจัยนั้น ๆ กําหนด แล้วตัดสินใจเลือกแหล่งทุนวิจัย ควรมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ หาพันธมิตร และสร้างเครือข่ายหรือทีมวิจัยที่ชํานาญในศาสตร์ที่ตนเองสนใจ
Dr. chawanon says:
ผู้วิจัยต้องเรียนรู้วิธีการขอทุนการวิจัย สร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือในด้านข้อมูลข่าวสาร เรียนรู้จากนักวิจัยต้นแบบ ซึ่งเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในการขอรับทุน และมีการเตรียมโครงการวิจัย โดยศึกษาแบบฟอร์มที่แหล่งทุนกำหนดและกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามความต้องการรวมทั้งเตรียมพร้อมเพื่อการนำเสนอโครงการวิจัยกับแหล่งทุน
Dr.Naruemon says:
สิ่งแรกที่นักวิจัยต้องมี คือแรงบันดาลใจ ต่อจากนั้นก็หาแหล่งทุนวิจัยวิจัยภายนอก ศึกษาประกาศ ข้อกำหนด ช่วงเวลาที่กำหนดส่งข้อเสนอ รูปแบบการเขียนและแบบฟอร์มในการเสนอขอทุนตามที่แหล่งทุนนั้นๆ กำหนด แล้วตัดสินใจเลือกแหล่งทุนวิจัย ควรมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ หาพันธมิตรและสร้างเครือข่ายหรือทีมวิจัยที่ชำนาญในศาสตร์ที่ตนเองสนใจ
Dr.Chawanon says:
ผู้วิจัยต้องเรียนรู้วิธีการขอทุนวิจัย สร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือในด้านข้อมูลข่าวสาร เรียนรู้จากนักวิจัยต้นแบบ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการขอรับทุน และมีการ เตรียมโครงการวิจัย โดยศึกษาแบบฟอร์มที่แหล่งทุนกำหนด และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามความต้องการ รวมทั้งเตรียมพร้อมในการนำเสนอโครงการวิจัยกับแหล่งทุน
ฐิติมา คาระบุตร says:
ในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อสำคัญได้แก่:
1. วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายหรือเป้าหมายของทุนที่คุณกำลังขอรับไหม
2. คำถามวิจัย: โครงการตอบคำถามวิจัยอย่างชัดเจนและมีเหตุผล
3. ข้อสรุปวิจัยที่คาดหวัง: กำหนดข้อสรุปหรือผลที่คาดหวังจะได้รับจากการดำเนินโครงการ และวิเคราะห์ว่าผลลัพธ์เหล่านั้นจะมีผลกระทบอย่างไรต่อด้านต่างๆ เช่น ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ หรือด้านวิชาการ
4. การสร้างข้อเสนอ (Proposal): ต้องเขียนข้อเสนอที่มีความชัดเจนเพื่ออธิบายโครงการกับผู้ให้ทุน ซึ่งอาจรวมถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมการแสดงความต้องการทุน วัตถุประสงค์ คำถามวิจัย แผนการดำเนินโครงการ และข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการและการวัดผล
5. ข้อจำกัด: ระบุข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ เช่น ข้อจำกัดทางทรัพยากร ข้อจำกัดทางเทคโนโลยี หรือข้อจำกัดทางกฎหมาย
6. แผนการใช้ทุน: ควรระบุแผนการใช้ทุนอย่างชัดเจน โดยรวมถึงงบประมาณและเวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้ให้ทุนเห็นภาพรวมของการใช้ทุน
7. การวางแผนการดำเนินการ: มีแผนการที่ชัดเจนในการดำเนินโครงการ
8. บทบาทของผู้ผ่านการตรวจสอบ (Reviewer): ควรมีผู้ที่จะให้ทุน หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การเขียนโครงร่างวิจัยที่มีความชัดเจนและครอบคลุมทุกประเด็นที่กล่าวมาจะช่วยให้โครงการมีโอกาสในการได้รับทุนมากขึ้น
Chompoo Langnak says:
เสนอว่าควรมีการประกาศโปรเจคเป็นร่มใหญ่ของวิทยาลัยฯให้คนสมัครเข้าไปร่วมทีมเพื่อเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก จะทำให้มีความเข้มแข็งของโครงร่างและเพิ่มประสบการณ์ให้กับอาจารย์ที่เป็นนักวิจัยมือใหม่ด้วยค่ะ
atsawadej says:
ผู้วิจัยควรศึกษาประเด็นหัวข้อเรื่องที่จะทำวิจัยของทุนภายนอกให้ละเอียดและเข้าใจในขอบเขตเรื่องที่จะทำว่ามีความเชี่ยวชาญและศักยภาพเพียงพอในการวิจัยหัวข้อนี้หรือไม่ เพื่อที่จะทำให้การวิจัยดำเนินได้บรรลุวัตถุประสงค์ของแหล่งทุนภายนอกและผู้วิจัยเอง องค์ความรู้ใหม่หรือผลการวิจัยที่ได้รับนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ตลอดจนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารเรื่องที่จะทำวิจัยว่าจะตีพิมพ์ในวารสารใดเพื่อทำรูปแบบให้ตรงตมวารสารหลังผลงานวิจัยแล้วเสร็จ
Dr.Parinda says:
1) ทบทวนวิเคราะห์การกําหนดนโยบายด้านการผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม
2) ทบทวนวิเคราะห์ประเมินผลสัมฤทธิ์ภายในองค์กร โดยเฉพาะความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญด้าการทำวิจัย เเละองค์ความรู้เฉพาะสาขาวิชา
3) การเตรียมตัวพัฒนาโครงร่างวิจัย ศึกษาข้อมูล แนวโน้ม หัวข้อ (Theme) ประเด็น กรอบ/เงื่อนไขของแหล่งทุน
4) การศึกษาการเขียนโครงร่างให้พิชิตทุนภายนอก เตรียมนําเสนอข้อมูลจากการทํา Pilot studyหรือการทบทวนวรรณกรรมจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ ทันสมัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง ควรเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยและทีมสนใจ เป็นศาสตร์ที่ผู้วิจัยเชี่ยวชาญหรือเป็นโครงการวิจัยแบบสหวิชาการ/สหวิชาชีพ
5) ทบทวนพัฒนาระบบเเละกลไกการสนับสนุน จูงใจการทำงานวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก
6) การบริหารทีมวิจัยและทรัพยากรในการพัฒนาโครงร่างวิจัย ประกอบด้วยปัจจัย6 ด้าน ได้แก่1) บุคลากร (ทีม) 2) องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ 3) งบประมาณ 4) ทรัพยากร 5) เวลา และ 6) เงื่อนไขแวดล้อม
7) การมีเครื่องข่ายความร่วมมืแ เป็นพี่เลี้ยง เเละเเลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกับทีมที่เข้มเเข็งในการทำงานวิจัยที่สามารถขอทุนจากหน่วยงานภายนอกได้
การเตรียมตัวเพื่อส่งโครงร่างวิจัย (submission) ขอทุนภายนอก
9) การเผยแพร่องค์ความรู้ และประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรภายในและภายนอกองค์กร
10) การปรับระบบการให้ขวัญกำลังใจ ที่เกิดจากการทำงานจริง มิใช่การคิดเเต่ให้รางวัล
AJ:Boossaba says:
การเขียนขอทุนวิจัยภายนอก
1. การยื่นขอทุนให้ได้ทุน จำเป็นที่จะต้องเข้าใจรายละเอียดการให้ทุนของแหล่งทุนต่าง ๆ ให้ถูกต้องและมีรายละเอียดครบถ้วน รวมถึงต้องตรงกับเกณฑ์ที่แหล่งทุนกำหนด
2. แหล่งทุนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ตลอด จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดและติดตามข้อมูลจากแหล่งทุนตลอดเวลา
3.ต้องเปิดดูคู่มือของแหล่งทุนเพื่อจะได้เขียนข้อเสนอทุนได้ตรงตามความต้องการของแหล่งทุน โอกาสจะได้รับทุนจะมีสูง
4.การขอทุนจากแหล่งทุนภายนอกควรใช้การบูรณาการหลายศาสตร์ร่วมกัน เนื่องจากความต้องการของแหล่งทุนเกี่ยวกับผลลัพธ์จากงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
5.การเขียนข้อเสนอด้วยเทคนิคใหม่ ๆ หรือ ระเบียบวิธีการวิจัยใหม่ ๆ หรือ การมุ่งเน้นนวัตกรรม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับทุนเพิ่มขึ้น
6.ต้องมีความชัดเจนในเป้าหมายของการเขียนข้อเสนอขอทุนว่า การจะมีเป้าหมายหรือทิศทางในการดำเนินการวิจัยอย่างไร
7.การรายงานผลลัพธ์จากโครงการตลอดกระบวนการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
ืnitjawan says:
การเขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก ผู้จะขอทุนต้องศึกษาข้อสำคัญหรือประเด็นของทุนภายนอกที่ต้องการขอทุน เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญเรื่องแรก