แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัย
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัย วพบ.ชัยนาท
This entry was posted on วันเสาร์, เมษายน 11th, 2020 at 7:43 pm and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
ประกาศิต says:
เป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจ แนวทางการเผยแพร่
ที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับจริยธรรมการวิจัย
Doungjai says:
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัย เป็นแนวทางที่ทำให้อาจารย์ของวิทยาลัยมีกรอบแนวคิด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตผลงานการวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ชัดเจนมากขึ้น
Hathairat Budsayapanpong says:
เป็นแนวทางในการส่งงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา
Dr.Naruemon says:
ในแนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัยควรเพิ่มเรื่องหลักการมีชื่อในผลงานวิจัยและการจัดการรูปภาพในงานวิจัย เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติที่สมบุูรณ์ให้กับอาจารย์ของวิทยาลัยต่อไป
Dr.Chawanon says:
เป็นแนวปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้ที่ส่งผลงานวิจัยเผยแพร่ได้ใช้ปฏิบัติและตรวจสอบผลงานของตนก่อนส่งเผยแพร่เพื่อให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานของการเผยแพร่ผลงานวิจัย
krujar says:
เป็นองค์ความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมในการเผยแพร่ผลงานวิจัย
สิรภพ says:
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แสดงถึงความมีประสิทธิภาพของระบบซึ่งนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี
THITIMA KARABUTR says:
เป็นแนวทางในการวางแผน ปฏิบัติงาน ประเมินผล และปรับปรุงให้ดีขึ้น ช่วยให้การทำงานมีระบบแบบแผนมากขึ้น
จาฏุพัจน์ ศรีพุ่ม says:
เป็นแนวทางในการนำองค์ความรู้ มาวางแผน พัฒนาให้ดีขึ้น และแนะนำวิธีการเผยแพร่การวิจัย
วิสุทธิ์ โนจิตต์ says:
การจะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยสิ่งที่ผู้วิจัยควรคำนึง ถึง คือ
1. ต้องศึกษาวารสารใดที่สามารถรับผลงานวิจัยในหัวข้อที่เราต้องการจะเผยแพร่
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการตีพิมพ์ ต้องสอบถามวารสารก่อนว่าจะสามารถลงตีพิมพ์ได้เมื่อไหร่ เพื่อตรวจสอบว่าจะทันหรือไม่ถ้าผลงานของเราต้องการลงตีพิมพ์ในเวลาที่ต้องการ
3. ศึกษารูปแบบ(Format)ของแต่ละวารสารให้ดีและให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
4.ตรวจสอบระเบียบวิธีการวิจัยให้ชัดเจน วางแผนการเขียนแต่ละส่วนให้ได้ตามจำนวนหน้าที่วารสารกำหนด
5.หาเพื่อนหรือผู้ช่วยมาเติมเต็มในส่วนการเขียนที่เราไม่ถนัด เช่น บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
6.ให้สมาชิกในทีมช่วยตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนก่อนส่งให้REVIEWRอ่าน
7.ตั้งสติให้ดี เมื่อได้รับข้อเสนอแนะจาก REVIEWER ให้ทำความเข้าใจในส่วนที่ต้องแก้ไข และให้แก้ไขตามข้อเสนอแนะนั้นๆ
8.ในกรณีที่ต้องการผลงานในเชิงปริมาณ(จำนวนมาก)เพื่อประโยชน์ขององค์กร การลงวารสาร TCI 2 ก็ต้องทำ บางวารสารออก 2 หรือ 3 ฉบับต่อปี เช่น ในกลุ่มวารสารของม.ราชภัฎ เป็นต้น
9.ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ ผู้วิจัยต้องสำรองออกไปก่อน และให้ออกชื่อในใบเสร็จ ว่า ได้รับเงินจาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ห้ามใช้ชื่อ-นามสกุลผู้วิจัย เพราะใบเสร็จต้องนำมาเบิกจากวิทยาลัยฯ ถ้าผิดพลาดต้องส่งกลับไปให้วารสารแก้ไขใบเสร็จ โดยใช้วิธีการขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่ ตรงนี้ทำให้เสียเวลา
10. ให้คำนึงเสมอว่า การเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการ เป็นการฝึกให้เราอดทน สร้างความเชี่ยวชาญและนำประสบการณ์ไปถ่ายทอดให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจได้
SUTHISA says:
เป็นแนวทางในการนำองค์ความรู้ มาวางแผน ช่วยให้การทำงานมีระบบเป็นแบบแผนมากขึ้น
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
ควรมีระบบการส่งเสริมสนับสนุนแนวทางที่ชัดเจน และประกาศให้ทราบในหลายช่องทาง
Name says:
เป็นการนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาอย่างเป็นระบบ มาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจ ต้องรู้จักวางแผนและเลือกเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ ทันใหม่ จึงจะได้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์ได้ง่ายเช่น โควิด 19 ตอนนี้
นภัสสร says:
ในการเผยแพร่ผลงานวิจัย ควรได้รับการกลั่นกรองจากคณะกรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์คอยแนะนำ(ภายใน/ภายนอก วพบ ) จะช่วยให้สามารถเผยแพร่ผลงานได้ดีขึ้น และควรสนับสนุนให้สร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดองค์ความรู้และทักษะที่ใช้ได้จริง การสร้างผลงานควรทำเรื่องในสาขาที่สนใจอย่างแท้จริง หรือเชี่ยวชาญ จะส่งผลให้งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่เป็นวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้
อาจารย์ชมพู่ หลั่งนาค says:
มีรูปแบบที่ชัดเจน
บุษกร says:
เป็นการส่งเสริมให้ผู้วิจัยได้มีแนวทางในการเผยแพร่งานวิจัยที่ทำขึ้น มีขั้นตอนที่บอกให้ทราบเกี่ยวกับการเผยแพร่
สุฑารัตน์ ชูรส says:
เป็นแนวทางที่ชัดเจน สามารถนำมาเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ แต่ผลงานควรผ่านการกลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญในระดับสถาบันก่อนนำไปเผยแพร่
Phensri says:
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัย สามารถใช้เป็นแนวทางให้แก่อาจารย์ที่ทำวิจัยได้รับทราบและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สินาภรณ์ กล่อมยงค์ says:
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัยช่วยเป็นแนวทางให้กับผู้วิจัยที่ต้องการเผยแพร่ผลงานของตนเอง บวกกับการได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถเผยแพร่งานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์
ปารวีร์ says:
การอ่านวารสารงานวิจัยมากๆ จะช่วยให้เราสามารถเห็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยของตนเอง และเห็นแบบอย่างในการเตรียมผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกว่าการทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์ไม่ใช่เรื่องยาก
Ajcharaphan says:
ทำให้มีความเข้าใจในการตีพิมพ์ผลงาน ในแต่ละระดับ ทำให้สามารถวางแผนการตีพิมพ์ผลงาน และปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
SASIMA says:
เป็นแนวทางในการเผยแพร่ผลงานวิจัย การมีทีมงานส่วนอ่านและโค้ชก่อนส่งเผยแพร่เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้เริ่มที่จะพัฒนางานมีความมั่นใจมากขึ้นในการเผยแพร่ผลงานคะ
manee says:
เป็นแนวทางที่ดี และควรมีระบบการส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ที่ชัดเจนคะ
monthathip says:
เป็นแนวทางท่ีดีในการผลักดันให้เกิดการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ืnitjawan says:
เป็นรูปแบบที่ดีทำให้ได้ผลงานในการตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ
่jaruwan says:
ควรมีระบบการส่งเสริมสนับสนุนแนวทางที่ชัดเจน ประชาสัมพันธ์และจัดหาวารสาร พร้อมทั้งเสริมแรงจูงใจให้เป็นรูปธรรม
AJ.boossaba says:
เป็นแนวทางที่ดีในการนำมาปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ค่ะ
wongduan says:
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัย เป็นแนวทางที่ดีที่ช่วยพัฒนาอาจารย์ให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น
Dr.parinda says:
การพัฒนาเเนวทางในการผลักดันการเผยเเพร่งานวิจัยมีความเ็นระบบที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วง 3 ปี เเละสามารถผลักดันการยกระดับการเผยเเพร่ผลงานเเต่เพิ่มขึ้น เเละบรรลุตามเป่าหมายที่กำหนดไว้ก็ตาม โโยพบปัจจัยทเเห่งความสำเร็จที่สำคัญ ตือ
1. นักวิจัย ควรมีความรับผิดชอบ เเละมีวินัยในตนเอง ที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย
2. ระบบพืี่เลี้ยง เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยผลักดันกระตุ้น ช่วยเหลือ สนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพ
3. ระบบเครือข่าย ทั้งภายในเเละภายนอกสถาบัน โดยเฉพาะเครือข่ายความร่วมมือภายในทีมงานวิจัย ที่จะเกิดการพัฒนากระบวนการทำวิจัย การสะสมความเชี่ยวชาญทั้งวิชาการ เเละวิชาชีพ
4. การมีเเผนงานเเละโครงการที่ชัดเจน เเละการกำหนดทิศทางงานวิจัยที่ชัดเจน ทำให้เกิดการกำหนดขอบเขตการยกระดับคุณภาพการทำงานวิจัย จากการเผยเเพร่เเบบ oral / poster ในระดับชาติ สู่การเผยเเพร่ในฐานข้อมูล TCI ระดับชาติ
5. การจัดโครงการ พัฒนาศักยภาพด้านการเผยเเพร่งานวิจัยให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเรียนรู้เเละเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน เเละการทำให้เห็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ให้เป็นที่ยอมรับจากบุคคลภายนอกมากขึ้น
5. ระบบการสนับสนุนเอื้ออำนวยการผลิตผลงานวิชจัย ทั้ได้ดไำเนินการจัดบุคลากรสายสนับสนุนงานวิจัยช่วยดูเเลด้านการอำนวยความสะดวกการเบิอกจ่าย การประสานการดำเนินการงานวิจัยให้เกิดขึ้นตามเเผนงาน
6. มีเเนวปฏิบัติที่สะท้อนวิธีการในการพัฒนาการเผยเเพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติที่ชัดเจน เเละมีการเรียนรู้ถ่ายโยงกันของอาจารย์ที่ทำผลงานวิจัย ทำให้สามารถเรียนรู้วิธีการเเละกลวิธีที่สำเร็จสู่การนำไปเผยเเพร่
7. การมีระบบฐานข้อมูลที่มีการบันทึกข้อมูลที่ทันสมัย เป็นปัจจัย เเละเอื้อต่อการตัดสินใจในการบริหารงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เเละครอบคลุม รวมทั้ง บุคคลากรที่รับผิดชอบงานวิจัย มีความชัดเจนในเกณฑ์มาตรที่กำกับคุณภาพงานวิจัย จึงมีส่วนช่วยให้การเผยเเพร่ผลงานวิจัยมีจำนวนมากขึ้น
เเต่หากดำเนินการวิเคราห์ปัจจัยที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับการเผยเเพร่งานวิจัย มีหลายประัเด็นที่ควรดำเนินการพีัฒนาปับปรุงเเก้ไขการดำเนิงงาน
1. การทำงานิวจัยในรูปเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ยังพบว่ามีอุปสรรคหลายด้านทั้งจากการกระจายภาระงานสอน การจัดเวลาทำงาน การมีระเบียบราชการทียังไม่เอื้อต่อการปฏิบัติในการใช้สิทธิการลาทำปลงานวิจัยเเละผปลงานวิชาการ
2. ควรพัฒนาการนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคคลอื่นหรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากงานวิจัย เช่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น
3. การสร้างนวัตกรรม ที่สามารถผลักดันนำไปสู่การจดลสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร / สิทธิปัญญา ให้เกิดขึ้น
4. การผลักดันการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ที่สามรถนำไปสู่การตีพิมพ์เผยเเพร่ในระดับนานาชาติ ควรต้องพัฒนาเเนวทางที่ชัดเจนในการสร้างความร่วมมือ เเละควรสรรหาบุคคลเเละหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านการวิจัยที่มาช่วยเป็นพี่เลียงสอนงาน เเละดสริมประสบการณ์พัฒนาศักยภาพของอาจารย์เพื่อนำไปสู่การขอทุนวิจัยจากภายนอกสถาบันเพิ่มขึ้น เเละการพัฒนาคุณภาพผลงานสู่ระดับนานาชาติ
5. ควรสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโดยหน่วยงานวิเทศสัมพันธ์ควรเข้ามามีบุคคลาเอื้ออำนายในการช่วยเหลือด้านการวิพากษษ์ภาษาเเละการประสานงานติดต่อที่ชัดเจนมากขึ้น หากต้องตีพิมพ์เผยเเพร่ในระดับนานาชาติ
6. ควรพัฒนาสมรรถนะของนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องจรรยาบรรณนักวิจัย เเละจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เพื่อให่้เกิดการตระหนักรู้เเละเฝ้าระวังป้องกันการละเมืิดลิขสิทธิ์ผลงานทั้งภายในเเละภายนอกสถาบัน
7. ควรปรับระบบการบริหารทรับพกรบุคคลที่นำเอื้ออำนวยในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย
Mayuree says:
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัยนี้เป็นแนวปฏิบัติที่ช่วยให้มีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น ครอบคลุมทุกมิติของการเผยแพร่ผลงานวิจัย และมีมาตรฐานเป็นสากล
phimphan says:
modelที่กำหนดมีลักษณะเป็นนามธรรมที่ผู้จะเผยแพร่ผลงานต้องศึกษาและเรียนรู้ แต่กรณีที่ผลงานที่พร้อมจะเผยแพร่แต่มีปัญหาอุปสรรคเช่นขั้นตอนการตรวจสอบ การส่งผลงานกรณีที่ต้องใช้งบประมาณหรือการสมัครสมาชิกวารสารนั้นๆวิทยาลัยมีขั้นตอนอย่างไรที่จะดำเนินการสนับสนุนหรือผลักดันให้ผลงานได้มีโอกาสเผยแพร่
ภัทรวดี says:
แนวปฏิบัติการเผยแพร่ผลงานวิจัย วพบ.ชัยนาท เป็นแนวทางที่ชัดเจนดี ครอบคลุมและปฏิบัติได้จริง
อังคริสา พินิจจันทร says:
ความรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวกับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัย ได้ถูกพัฒนาให้มีความทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน นักวิจัยต้องหมั่นศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองและไม่ทำผิด เพราะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของผลงานและชื่อเสียงตนเองและหน่วยงาน
อ.ยุทธนา says:
ควรมีการดำเนินงานคลินิกวิจัยอย่างต่อเนื่องและมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน
อ.อรนุช says:
ควรมีการสนับสนุนการดำเนินการวิจัยทั้งด้านความรู้ งบประมาณสนับสนุนและควรมีการสนับสนุนเรื่องการเบิกงบประมาณในการเผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างรวดเร็ว
SURASAK says:
การบริหารจัดการงบประมาณมีส่วนสำคัญในการกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานในโครงการ นอกจากจำนวนเงินงบประมาณ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า แหล่งที่มาของงบประมาณมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ เนื่องจากงบประมาณแต่ละประเภทแต่ละชนิด ย่อมมีกระบวนการจัดการงบประมาณ แตกต่างกัน ปกติแหล่งที่มาของงบประมาณในการดำเนินงานโครงการของวิทยาลัย ประกอบด้วย การลงทะเบียน การได้รับจากหน่วยงานอื่น การได้จากหน่วยงาน/องค์กรที่มีลักษณะเป็น Sponsorship เช่น สปสช. และงบการดำเนินงานขององค์กร เป็นต้น