แนวปฏิบัติการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
แนวปฏิบัติการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ
This entry was posted on วันศุกร์, มิถุนายน 1st, 2018 at 4:02 am and is filed under ไม่มีหมวดหมู่. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
อังค์ริสา พินิจจันทร์ says:
อยากให้มีการรับประกันเรื่องเวลา ในการส่ง โครงร่าง ให้งานวิจัย ตรวจสอบ ว่าเมื่อส่งไปแล้ว จะได้รับการพิจารณาและส่งคืนภายในกี่วัน
ชมพู่ หลั่งนาค says:
อยากให้มีการเปิดโอกาศให้สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารที่มี impactน้อยๆได้เพื่อให้อาจารยืมีที่ยังมีประสบการณ์น้อยเกิดกำลังใจและสั่งสมความเชี่ยวชาญค่ะ
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
มีคณะกรรมการที่ปรึกษา ตรวจสอบ และช่วยติดตามผลการพิจารณา และให้ความช่วยเหือกรณีที่ต้องมีการแก้ไข มีเวทีให้เตรียมความพร้อม เพื่อสร้่างความมั่นใจ
Phimphan says:
การจะได้ผลงานวิชาการขึ้นกับปัจจัยหลายประการ
1.คนทำต้องใจรักที่จะทำ
2.ต้องมีแรงสนับสนุนทั้งทางด้านเวลาและงบประมาณที่เพียงพอ
3.การบริหารจัดการที่เอื้อประโยชน์ทั้งผู้ทำผลงานและวิทยาลัย
4.วิเคราะห์ผลการดำเนินการเพื่อนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับแก้อย่างจริงตัง
Dr.parinda says:
การเขียนผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์เผยเเพร่ได้ ต้องมีปัจจัยเอื้อหลายอย่าง
1. ผู้วิจัยต้องเป็นสาระพัดช่าง ช่างคิด ช่างค้น ช่างคว้า ช่างตกเเต่ง ช่างปั้น ที่จะรังสรรผลงานวิจัยให้ออกมาเป็นที่น่าเชื่อถือ ต้องหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนเองทักษะการอ่าน การทำ การเขียนงานวิจัย เเละควรวิเคราะห์คุณลักษณะของตนในการเตรียมพัฒนาให้สอดคล้องกับรูปเเบบงานวิจัยที่ทำ
2.ผู้วิจัย ควรมีคุณสมบัติที่มีความคิดเชิงระบบ เเละมีความมุ่งมั่นตั้งใจ พยายามบริหารจัดการเวลาเเละทรัพยากรให้เหมาะสมเเละมีประสิทธิภาพมากสุด
3. การสร้างเเรงบันดาลใจให้ตนเองอยู่เสมอ มันคือรางวัลจูงใจที่เปี่ยมสุข
4. การจัดระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการทำงานวิจัย
5. การมีเครือข่ายทีมงานช่วยบ่มเพาะถ่ายโยงศักยภาพการทำงานวิจัย
6. การมีที่ปรึกษามี่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนางานวิจัยให้มีความชัดเจน ถูกต้อง ทั้งจากภายในเเละภายนอก
7. การเคารพความคิดเห็นข้อเสนอเเนะจากทุกคน ย่อมเปิดโลกทัศน์การมองเชิงวิชาการที่สร้างสรรค์ นำสู่การพัฒนาตน พัฒนางาน
Aj.boossaba says:
การตีพิมพ์ผลงานวิจัย ต้องใช่เวลาในการทำเเละเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลบนพื้นฐานกระบวนการวิจัย สะท้อนผ่านผลงาน.ที่ได้รับการยอมรับ. การมีพี่เลี้ยงที่ช่วยให้คำเเนะนำ ปรับความคิด ชี้เเนะเเนวทางในการพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักวิจัยมือใหม่ เเต่การจะสามารถพัฒนางานวิจัยบนฐานองค์ความรู้ของตนเองต้องได้รับโอกาสในการพัฒนาที่หลายด้าน ทั้งการสอน การบริการวิชาการเเละทำงานวิจัยควบคู่กันไป
เเนวท่งที่เขียน ก็เห็นด้วยว่าจะช่วยให้นักวิจัยมือใหม่เห็นเส้นทางในการพัฒนาตนเองสู่วิถีชองนักวิจัยได้ค่ะ
หทัยรัตน์ บุษยพรรณพงศ์ says:
ทางวิทยาลัยมีระบบเอื้อให้ทำวิจัยที่ดี แต่อาจารย์มีภาระงานค่อนข้างมาก ต้องวางแผนการทำงานที่ดีและบูรณาการกับงานที่ต้องทำเพื่อทำไปพร้อมกัน และฝ่ายวิจัยควรสร้างขวัญและกำลังใจที่จูงใจให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการ ขณะเดียวกันการเขียนงานรวมทั้งabstractตลอดจนการนำเสนองานในเวทีระดับนานาชาติควรมีระบบและกลไกที่ชัดเจนว่าจะช่วยสนับสนุนอย่างไร
wongduan says:
-ควรมีคณะอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย
-ควรนับผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยคิดเป็นภาระนำ้หนักภาระงานเพื่อไม่ให้ภาระงานของอ.ไมover load และเป็นการกระตุ้นจูงใจให้อ.สนใจทำงานวิจัยและเผยแพร่
SOMSONG MANEEROD says:
ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการตีพิมพ์ เผยแพร่งานวิจัย
1.สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท ไม่ท้อถอยเมื่อต้องปรับปรุงแก้ไขบทความหลายครั้งเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งในแง่หลักทางวิชาการ และการใช้ภาษา
2.สำหรับอาจารย์ที่ไม่มีประสบการณ์เขียนควรมีที่ปรึกษาหรือเขียนเป็นทีม เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์
3.ควรจัดสรรเวลา กำหนดช่วงเวลาของตนเอง ที่จะใช้ในการสร้างผลงานวิชาการ กำหนดระยะเวลาในการสร้างผลงาน ให้เตรียมเวลาไว้ 2 เท่า ควรเขียนและทิ้งช่วงเวลาให้ตกตะกอน และนำกลับมาอ่านทบทวนเพื่อแก้ไข
4. บทความวิจัย ควรมีการออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม และจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับรูปแบบการวิจัย จะทำให้มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์สูง
5.ผู้รับผิดชอบเรื่องการเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์
-ควรจัดผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา
-ควรจัดปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการวิจัย เช่น การสร้างขวัญและกำลังใจ การลดภาระงานประจำ การสนับสนุนงบประมาณ ฯลฯ
-ควรจัดหาแหล่งเผยแพร่ หรือวารสารที่เป็นผ่านการรับรองจาก TCI และประชาสัมพันธ์เป็นระยะ เพื่อให้เกิดการตื่นตัวต่อการส่งบทความตีพิมพ์
อัศวเดช says:
บรรยากาศการนำเสนอโครงร่างควรเป็นแบบสร้างสรรค์ และมีการรับประกันเรื่องเวลา ในการส่ง โครงร่าง ให้ตรวจสอบว่าเมื่อส่งไปแล้ว จะได้รับการพิจารณาและส่งคืนภายในกี่วัน เพราะช่วงว่างของผู้ตรวจ กับผู้ทำไม่ตรงที่จะเอื้อต่อกัน และการทำวิจัยต้องใช้สมาธิต่อเนื่อง ทำแล้วมีงานอื่นมาแทรก หากช่วงฝึกภาคปฏิบัติจะขาดความต่อเนื่อง
Dr.Chawanon Jansook says:
ควรกำหนดให้เวลาในการทำวิจัย เขียนผลงานวิชาการและผลงานวิจัยนับเป็นภาระงานสอนและประกาศใช้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
Dr.Naruemon Jansook says:
ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนการดำเนินการวิจัย การเขียนผลงานวิชาการและผลงานวิจัยเป็นประจำ และควรจัดระบบและกลไกที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
Kanjananat says:
การสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของการทำงานวิจัยให้เป็นเรื่องสนุก ท้าทาย เป็นงานประจำไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระ และมีความเอื้ออารีช่วยเหลือกัน เป็นสิ่งสำคัญ
Parawee says:
การตีพิมพ์ผลงานวิจัยควรวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นจะทำวิจัย กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะลงตีพิมพ์ในวารสารระดับใด และต้องพิจารณาระดับคุณภาพของงานวิจัยของเราก่อน เพื่อจะได้เลือกแหล่งตีพิมพ์ให้เหมาะสม โดยควรไปศึกษาผลงานวิจัยที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนั้นๆ และจะได้ตัดสินใจได้ว่างานวิจัยของเรามีโอกาสได้รับตีพิมพ์หรือไม่ จากนั้นก็เตรียมตัวในการออกแบบการจัดทำ เมนูสคริป์ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ รูปแบบ และสไตล์ในการนำเสนอ
ในการจะทำเมนูสคริปต์ให้ง่ายขึ้น การอ่านบทความวิจัยจากวารสารต่างๆที่หลากหลาย จะช่วยเป็นแนวทางให้เริ่มต้นในการเขียนได้อย่างไม่ยาก
manee says:
การทำวิจัยผนวกกับงานประจำเป็นสิ่งที่ดี เป็นการพัฒนาตนเองในด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ เเต่ควรมีการจัดสรรเวลาในการทำวิจัย และมี mentor ชี้แนะในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย
Doungjai says:
การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ทำให้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการเผยแพร่ผลงานวิจัยของแต่ละอาจารย์ผู้ทำวิจัยแต่ละคน สามารถนำแนวทางของแต่ละคนมาประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้
ยุทธนา นุ่นละออง says:
1.ควรมีการวิจัยด้านการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการวิจัยในคลินิก
2.อยากให้มีทีมช่วยในการตีพิมพ์งานวิจัย
ORANOOT says:
สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้เกี่ยวกับเทคนิกการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่และมีอาจารย์ที่มีประสบการณืเป็นพี่เลี้ยงสำหรับนักวิจัยมือใหม่ เพื่อชี้แนะแนวทางดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
่Jaruwan Kansri says:
การสนับสนุนการทำวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย
1. มุ่งมั่นในการทำวิจัย ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน
2. ให้เวลา หน่วยงานควรเอื้อให้เวลาผู้ทำวิจัยที่ชัดเจน
3. เป็นส่วนหนึ่งของภาระงาน ไม่เพียงคิดภาระงานสอนเท่านั้น
4. สร้างแรงจูงใจในการทำวิจัย เช่นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่างๆ
5. ทำงานวิจัยให้มีคุณภาพเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่
นภัสสร says:
ในอาจารย์น้องใหม่ อยากให้มี ที่ปรึกษาพิเศษภายในวิทยาลัย ในการในการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ และข้อเสนอแนะในการแก้ไข ก่อนส่งวารสาร ค่ะ
มณฑาทิพย์ says:
อยากให้มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนในการเตรียมเขียนงานวิชาการเพื่อรับการตีพิมพ์
ประกาศิต says:
เป็นแนวทางที่ดีในการเตรียมความพร้อมและทำวิจัยเพื่อการเผยแพร่ และอยากให้มีอาจารย์ที่มีประสบการณืเป็นพี่เลี้ยงสำหรับนักวิจัยมือใหม่
มณฑาทิพย์ says:
อยากให้มีการจัดสรรเรื่องเวลา ที่เอื้อต่อการทำวิจัย
กัญญาพัชร says:
อยากให้มีเวทีเกี่ยวกับงานวิจัยเพิ่มเติม และมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยง
SUTHISA says:
ที่ปรึกษางานวิจัยควรรวบรวมปัญหาที่คนไม่ค่อยทำว่าเกิดจากสาเหตุใด ปรับปรุงขั้นตอนให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
Suwattana says:
การเลือกวารสารในการตีพิมพ์สำหรับนักวิจัยมือใหม่ ผู้วิจัยควรเลือกวารสารในระดับ TCI 2 ก่อน และไม่ควรกลัวว่างานวิจัยเราจะไม่มีคุณภาพ เพราะ reviewer จะเป็นผู้ตัดสินใจให้เราเองและปรับแก้ไขไปตามข้อเสนอแนะ หรือหาก reviewer ไม่ตอบรับตีพิมพ์ ผู้วิจัยควรนำมาปรับแก้และหาวารสารส่งใหม่
เมื่อทำบ่อย ๆ จะมีความชำนาญในการเขียน และทำให้เรามีผลงานตีพิมพ์เพิ่มขึ้นค่ะ
Mayuree says:
ในการตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สำเร็จนั้น น่าจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. คน คือ ผู้วิจัยต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย ซึ่งต้องอาศัยแรงบันดาลใจ (Inspiration) จากการประสบการณ์การทำงาน ทั้งทางคลินิกและการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ต้องมีแรงสนับสนุนจากหน่วยงานให้เอื้อต่อการทำวิจัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะกล่าวต่อไป
2. งาน คือ การจัดสรรภาระงานให้เหมาะสม เพื่อมีเวลาในการทำวิจัยและสามารถเผยแพร่ได้ รวมถึงขวัญกำลังใจที่จะส่งเสริมให้ผู้วิจัยมีแรงใจที่จะดำเนินการเผยแพร่ให้ลุล่วงไป
3. เงิน ในแง่คือการเบิกจ่ายเมื่อขอทุนวิจัยในหน่วยงาน หากมีระบบที่ซับซ้อนและยากลำบาก หรือต้องมีหลักฐานในการเบิกจ่ายที่ไม่ตรงไปตรงมา อาจทำให้ผู้วิจัยเกิดความเหนื่อยหน่ายต่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ ซึ่งหากเป็นไปได้ การเบิกจ่ายที่มีความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ไม่ช้าจนเกินไป ก็จะเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้วิจัยเผยแพร่ผลงานวิจัยได้มากขึ้นก็เป็นได้
นภัทร เตี๋อนุกูล says:
1.ควรมีนโยบายผลักดันให้อาจารย์ทุกคนได้ทำวิจัยที่มีคุณภาพ และมีการตีพิมพ์เผยแพร่ ระดับชาติและนานาชาติ
2.ควรจัดทำแผนการทำวิจัยที่ชัดเจน และอาจารย์ทุกคนรับรู้ร่วมกันเพื่อเป็นการกระตุ้นในการทำงานวิจัยอย่างมีคุณภาพ
3. ควรมีการฝึกการนำเสนอในวิทยาลัย โดยมีการให้กำลังใจและสร้างแรงใจในการนำงานวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่
นภัทร เตี๋อนุกูล says:
ควรมีนโยบายผลักดันให้อาจารย์ทุกคนได้ทำวิจัยที่มีคุณภาพ และมีการตีพิมพ์เผยแพร่ ระดับชาติและนานาชาติ
ควรจัดทำแผนการทำวิจัยที่ชัดเจน และอาจารย์ทุกคนรับรู้ร่วมกันเพื่อเป็นการกระตุ้นในการทำงานวิจัยอย่างมีคุณภาพ
ควรมีการฝึกการนำเสนอในวิทยาลัย โดยมีการให้กำลังใจและสร้างแรงใจในการนำงานวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่
ภัทรวดี says:
อยากให้มีการเปิดโอกาศให้อาจารยืมีที่ยังมีประสบการณ์น้อยได้เข้าร่วมเรียนรู้ในกระบวนการวิจัยนร่มใหญ่ของวิทยาลัยเพื่อเกิดแง่คิดมุมมองในการวิจัยเพิ่มขึ้น
Kanjanaphorn says:
อยากให้มีแนวทางในการวางแผนการทำวิจัยและผลงานวิชาการ ให้กับอาจารย์น้องๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและผลงานวิชาการมาก่อน และขอให้อาจารย์ที่มีประสบการณ์เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงในการทำงานวิจัยและผลงานวิชาการ รวมถึงการจัดสรรเวลาให้เอื้อต่อการวางแผนและดำเนินการทำวิจัยและผลงานวิชาการ
สินาภรณ์ กล่อมยงค์ says:
เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีช่วยให้บุคคลากรหรือคนที่สนใจสามารถปฏิบัติตามแนวทางการตีพิมพ์ได้
ฐิติมา คาระบุตร says:
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ทำให้เกิดการเรียนรู้วิธีการเผยแพร่ผลงานวิจัย สามารถนำแนวทางมาประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่ผลงานวิจัยได้
Wisut says:
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะภาษาอังฤษเชิงวิชาการ ซึ่งหากผู้วิจัยได้รับการสนับสนุน ฝึกฝน ในเรื่อง Academic writing และมีที่ปรึกษาหรือ Editors ที่เป็นเจ้าของภาษาที่มีความเชี่ยวชาญงานเขียนเชิงวิชาการ จะทำให้หน่วยงานของเรามีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น
จาฏุพัจน์ ศรีพุ่ม says:
อยากให้มีอาจารยืพี่เลี้ยงดูแลเรื่องงานวิจัยให้สำหรับอาจารย์น้องใหม่ค่ะ และมีการจัดอบรมความรู้เรื่องงานวิจัยค่ะ
Phensri says:
ควรมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัย. อาจนำวารสารที่น่าสนใจในการเผยแพร่มาแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เห็นแนวทางว่าประเด็นใดกำลังเป็นที่น่าสนใจ. เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยเพื่อส่งตีพิมพ์ และมีโอกาสได้รับตีพิมพ์
สุฑารัตน์ ชูรส says:
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นแนวทางที่ดี แต่สำหรับนักวิจัยมือใหม่ต้องการให้มีอาจารย์พี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชายทางด้านงานวิจัยคอยชี้แนะ และช่วยหาแหล่งตีพิมพ์
สุฑารัตน์ ชูรส says:
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นแนวทางที่ดี แต่สำหรับนักวิจัยมือใหม่ต้องการให้มีอาจารย์พี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านงานวิจัยคอยชี้แนะ และช่วยหาแหล่งตีพิมพ์
Preedawan Kasinang says:
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาทมีการจัดทำแนวปฏิบัติการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้ผู้วิจัยเข้าใจระบบกระบวนการในการจัดทำวิจัยเพื่อเผยแพร่ได้ผบงานวิจัยได้เป็นอย่างดี
สิรภพ โตเสม says:
วิทยาลัย มีการสนับสนุน และผลักดันการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ดี
แต่ภาะระงาน ประกอบกับลักษณะงาน ที่มีการสอนต่างจังหวัด ทำให้จัดสรรเวลาทำวิจัยได้ยาก
Krujar says:
-ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ
จัดพี่เลี้ยงให้การช่วยเหลือ นักวิจัย เพื่อการเขียนบทความวิจัยเผยแพร่อย่างถูกต้อง
อิทธิพล says:
แนวปฏิบัติการตีพิมพ์งานวิจัย มีขั้นตอนที่ชัดเจน สิ่งที่อาจทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายสำคัญคือ การมีประเด็นงานวิจัยหรือไม่ นับว่าเป็นสิ่งแรกที่จะต้องสนับสนุนให้บุคลากรได้มีการผลิตงานวิจัยที่ได้มาตรฐานตามแนวทางปฏิบัติฯ
Pimjai says:
คลินิกวิจัย มีการดำเนินงานดีอยู่แล้วในเรื่องการให้คำปรึกษา แต่อยากให้ช่วยแนะนำเทคนิควิธีการเขียนที่จะทำให้วิจัย หรือบทความ ผลงานทางวิชาการ ได้รับการตีพิมพ์ และมีคุณภาพ
Surasak says:
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่สะสมความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางวิชาการ ที่จะทำให้มีการพัฒนาคุณภาพการทำงานเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง
ืีืnuntabhorn says:
อยากมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัย
Tipawan says:
แนวปฏิบัติเรื่องการตีพิมพืเผยแพร่งานวิจัยนี้ ควรมีการนำไปปฏิบัติซ้ำๆ และถอดบทเรียนเพื่อหา key success factors แล้วนำไปพ้ฒนาเป็นแนวปฏิบัติของเราจนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี รวมทั้งนำผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการตามแนวปฏิบัตินี้ไปเทียบเคียงกับสถาบันอื่น เพื่อนำมาต่อยอดปรับปรุงแนวทางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Sasima says:
ควรมีการจัดให้มีสัปดาห์ในการเขียนบทความวิชาการและมีที่ปรึกษางานพร้อมกับหาแหล่งที่จะเผยแพร่ทั้งในฐาน TCI 1 และ 2 หรือการประชุมการนำเสนอระดับชาติในวิจัยมือใหม่
NAPAT says:
มีแนวปฏิบัติและขั้นตอนชัดเจน. แต่ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มากขึ้น
Hathairat Budsayapanpong says:
ทางวิทยาลัยมีระบบเอื้อให้ทำวิจัยที่ดี แต่อาจารย์มีภาระงานค่อนข้างมาก ต้องวางแผนการทำงานที่ดีและบูรณาการกับงานที่ต้องทำเพื่อทำไปพร้อมกัน และฝ่ายวิจัยควรสร้างขวัญและกำลังใจที่จะจูงใจให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการ ขณะเดียวกันการเขียนงานรวมทั้งabstractตลอดจนการนำเสนองานในเวทีระดับนานาชาติควรมีระบบและกลไกที่ชัดเจนว่าจะช่วยสนับสนุนอย่างไรและควรปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ ประเมินผลคู่มือและระบบที่เกิดเพื่อติดตามแก้ปัญหา พัฒนางานอยู่เสมอ
ชมพู่ หลั่งนาค says:
กระบวนการควรส่งเสริมตั้งแต่ต้นทาง เช่น กระบวนการพิจารณษโครงร่างควรง่ายและรวดเร็ว
Pattarawadee srinuan says:
ขอชื่นชมหน่วยงานวิจัยที่ดำเนินงานอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจทำงานวิจัยให้ผลิตผลงานวิจัยได้มากขึ้น
Wisut says:
ควรห้องสำหรับคลินิควิจัย ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ/อาจารย์ ที่มีความรู้ประสบการณ์ ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับชาติ นานาชาติเป็นที่ปรึกษา ตะสามารถช่วยเหลืออาจารย์ที่ไม่มีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์น้อยได้
สายฝน อำพันกาญจน์ says:
1.กระบวนการควรส่งเสริมตั้งแต่ต้นทาง เช่น กระบวนการพิจารณาโครงร่าง การขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ควรง่ายและรวดเร็ว
2.หากต้องการให้แก้ไขแจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้ปรับปปรุงตามข้อเสนอแนะ
3.มีระบบการให้คำปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ การเอื้ออำนวย การจัดอบรม
4.งบประมานเหมาะสมกับแต่ละโครงการ
Phensri says:
งานวิจัยมีการพัฒนาศักยภาพอาจารย์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง แต่อาจมีคู่มือแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เยแพร่งานวิจัย เพื่อความขัดเจน
ทิพวรรณ says:
จากการวิเคราะห์ศักยภาพตนเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังพบว่าขาดความเชื่อมั่นในการตีพิมพ์เผยแพร่ คงต้องทบทวนตัวเองว่าจะมี passion อย่างไร จึงจะทำให้อยากพัฒนาตนเองในด้านนี้อย่างจริงจัง