รายงานการประชุมของ Cop การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับพันธกิจอื่น เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับพันธกิจอื่น
รายงาน Cop บูรณาการ ครั้งที่ ๑
This entry was posted on วันพฤหัส, สิงหาคม 27th, 2015 at 8:46 am and is filed under ฝ่ายวิชาการ. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed.
You can leave a response, or trackback from your own site.
oangrisa says:
การจัดเตรียมความพร้อมของอาจารย์และนักศึกษา เกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องทำ ตลอดจนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบ ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วนความราบรื่น
นภัสสร says:
คิดว่า เป็นเรื่องของการวางแผนที่ดี กับการทำงานเป็นทีใที่ดีค่ะ ความสำเร็จของการเรียนการสอน เป็นเป้าหมายสำคัญ แต่การทำงานกับทีมที่ดี มีแนวคิดไปในทิศทางที่แผนกำหนด น่าจะช่วยให้เราทำงานเหนื่อยน้อยลงค่ะ และจะประสบความสำเร็จกับพันธกิจอื่นๆมากขึ้น
Jarunee says:
ความสำเร็จน่าจะมาจากการวางแผนร่วมกันในการจะบูรณาการพันธกิจใดบ้าง โดยยึดเกณฑ์ประกันคุณภาพเป็นหลัก และกำหนดผู้เกี่ยวข้องในแต่ละพันธกิจ ไม่ซ้ำซ้อน ไม่มากเกิน ไม่เหนื่อย
Phimphan says:
การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับพันธกิจอื่นที่มีการระบุรายวิชาตั้งแต่เริ่มจัดทำแผนเพื่อให้ทุกคนในวิทยาลัยรับทราบตรงกันจะทำให้มองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนและกระจายภาระงานให้ทุกภาควิชาได้จัดสรรกำลังคน(ผู้สอน)ได้ชัดเจนตรงกับความเชี่ยวชาญ
DOUNGJAI says:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการสื่อสารของทีมงาน ตั้งแต่การวางแผน วางเป้าหมายร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการดำเนินงาน การพูดคุยถึงปัญหาอุปสรรคและร่วมกันแก้ไขปัญหา
ชวนนท์ จันทร์สุข says:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จอีกปัจจัยหนึ่ง คือ การ empowerment จากผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการการบูรณาการเรียนการสอนกับพันธกิจอื่นให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ทิพวรรณ says:
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการบูรณาการ คือ การทำงานเป็นทีมตั้งแต่การวางแผนงาน/โครงการในแต่ละพันธกิจ แผนการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการร่วมกันของฝ่าย และภาควิชา การบูรณาการคือทำอย่างไรเราจะได้ผลงาน 1+1=3 หรือมากกว่า
nitjawan says:
การจัดทำมคอ๔ และ มคอ ๖ ที่มีการบูรณาการสิ่งที่สำคัญคือความรู้ความเข้าในการบูรณาการ
อ.ยุทธนา says:
ควรมีจุดเน้นการบูรณาการที่ตอบโจทย์การประกันคุณภาพการศึกษา
wongduan says:
การบูรณาการจะสำเร็จได้ต้องอาศัยพลังความรู้ของครูทุกคนและต้องเดินไปด้วยกัน
Hathairat says:
เห็นด้วยกับอ.ดวงใจค่ะ การสื่อสารเกี่ยวกับระบบและกลไกการดำเนินงานในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีการสื่อสารที่เข้าถึงบุคลากรทุกคนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน แล้วเราจะขับเคลื่อนองค์กรได้ดีค่ะ ทั้งในส่วนเรื่องการบูรณาการและทุกเรื่องค่ะ
อ.นภัทร เตี๋ยอนุกูล says:
การรายงานการประชุมเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพื่อให้อาจารย์ทุกคนในวิทยาลัยได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
PREEDAWAN says:
1.การวางแผนร่วมกัน
2.การประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติโครงการต่างๆ
3.การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับพันธกิจอื่น ไม่ต้องมากแต่ตรงตามเกณฑ์ ค่ะ
จีระภา says:
ในการประเมินการจัดกาเรียนการสอน ควรประเมินผลให้ครอบคลุมทั้งนักศึกษา อาจารย์และกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
สมทรง says:
ในการจัดการเรียนแบบบูรณาการ ครูต้องกระตุ้นให้นักศึกษารู้จักบริหารจัดการเวลาในการเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระทางวิชาการควบคู่ไปกับกิจกรรมในโครงการ
สายฝน says:
ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือ ครูที่ร่วมสอนต้องในภาคปฏิบัติทุกคนต้องปฏิบัติตามแนวทางกิจกรรมการบูรณาการให้ตรงกัน เพราะในการเรียนภาคปฏิบัติ นักศึกษาทุกกลุ่มแยกกันไปฝึกงานตามที่ต่างๆ ครูประจำกลุ่มจึงมีความสำคัญในการจัดการสอนที่มีบูรณาการ
ชมพู่ says:
งานบริการวิชาการต้องเข้าไปมีส่วนร่วมน่าจะช่วยได้เยอะนะคะ
wisut nojit says:
มีการวางแผนร่วมกัน อยากให้คุยกันมากขึ้น เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน